“เลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล” ประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด (กมธ.ปปง.สภาผู้แทน) ลุยสางปัญหาคดีฉ้อโกงหุ้น บริษัท สตาร์คคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ระบุเสียหายหลายหมื่นล้านบาท พร้อมตั้ง “บรู๊ค ดนุพร” ปุณณกันต์ เป็นประธานอนุกรรมาธิการติดตามและศึกษาคดีฉ้อโกง บริษัทสตาร์ค คอเปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) แล้ว
รัฐสภา – เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ที่อาคารรับสภาเกียกกาย ห้องประชุม N 407 นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด หรือ (กมธ.ปปง.)สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด ครั้งที่ 3 ซึ่งในครั้งนี้ ได้ดำเนินการพิจารณาเรื่อง สำคัญ 2 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่องการพิจารณาติดตามความคืบหน้าการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีบริษัท สตาร์คคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กรณีเข้าข่ายความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และเรื่องการพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาบัญชีม้า โดยเชิญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และยาเสพติด และ ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยมี คณะกรรมาธิการฯอาทิ นายดนุพร ปุณณกันต์ นางสุขสมรวยวันทนียกุล นายพากร พิมพะนิตย์ นายชัชวาลล์ คงอุดม พร้อมที่ปรึกษาฯ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชการ เลขานุการคณะฯ เข้าร่วมประชุม มีผู้แทนผู้เสียหายเข้ารับฟังการประชุมด้วย

การพิจารณากรณีบริษัท สตาร์ตคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้แทนจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟองเงินและยาเสพติด (ปปง.) ส่ง นายวิทยา นีติธรรม ผู้อำนวยการกองกฏหมาย นายปิยะ ศรีวิกะ ผู้อำนวยการกองคดี 2 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปรบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด แจ้งว่า ปปง. ได้รับเรื่องนี้ในช่วงเดือนกันยายน 2566 และก่อนหน้านี้ DSI ทำการอายัพทรัพย์สินไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ความเสียหายในคดีนี้คาดว่าจะมีมากกว่าห้าหมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นกรณีการฉ้อโกงจากหุ้นและการหลอกให้ลงทุน การสอบสวน เน้นไปที่ทรัพย์สินที่กระทำความผิด และหาความเชื่อมโยงว่า ใครเกี่ยวข้องสัมพันธ์บ้าง เบื้องต้นพบว่ามีการวางแผนตั้งแต่ปี 2563 และเกิดปัญหาใน ปี 2564 การตรวจสอบเส้นเงินพบว่า ทรัพย์สินที่ได้จากกระทำความผิดมีการนำไปลงทุน หรือทำธุรกรรมมากถึง 16,000 ราย ที่รวมทั้งในประเทศและการทำธุระกรรมในต่างประเทศ ในกรณีเส้นเงินหรือธุรกรรมที่พบในประเทศ ปปง.จะดำเนินการอายัดพทรัพย์สินจำพวกนี้ก่อน ส่วนกรณีต่างประเทศ จะมีการตรวจสอบเส้นทางการเงินซึ่งผู้เสียหายเองก็ต้องมายื่นคำร้องกับทาง ปปง. เพื่อเป็นข้อมูลในการตรวจสอบอีกครั้ง
ด้าน นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ปัญหานี้ต้องการให้ ปปง. กลต. และ DSI รวมไปถึงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เร่งดำเนินการตรวจสอบแก้ไขปัญหาจริงจัง เพราะถือว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ซึ่งหากนับจำนวนยอดเงินในเรื่องการฉ้อโกงหุ้น ก็มีหลายหมื่นล้านบาท และยังมีการหลอกให้ลงทุน หากตรวจสอบจากการรายงานข่าวมีมูลค่าจะมากกว่าห้าหมื่นล้านบาทหรืออาจจะมีมากกว่านี้ จึงต้องการให้ ปปง. ได้เร่งดำเนินการสอบสวนและทำการอายัดเส้นทางการเงินที่ตรวจสอบได้ ไม่เฉพาะในประเทศไทยแต่ยังรวมไปถึงเส้นทางการเงินในต่างประเทศที่เชื่อว่า ปปง.และ DSI รู้เส้นทางแล้ว ขณะเดียวกัน ก็ต้องการให้ไปดู พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ว่าให้อำนาจ กลต. ยับยั้งได้แต่ทำไมไม่ทำ เพราะผู้เสียหายคือผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ หุ้นส่วน ปปง. คงต้องไปติดตามเรื่องนี้ ให้กระจ่าง เพื่อปกป้องทรัพย์สินของผู้เสียหายให้ได้มากที่สุด
การประชุมคณะที่ปรึกษา กมธ.ปปง. ได้เสนอให้ คณะกรรมการ ปปง. ทำการขยายผลจากข้อมูลเดิมที่ได้มาควรลงลึกในรายละเอียด เกี่ยวกับเส้นทางการเงินที่ถูกนำออกต่างประเทศ ว่าได้ถูกนำไปแปลสภาเป็นอะไรไม่ว่าจะเป็นอสังหาริม ทรัพย์หรือทรัพย์ที่เป็นรถหรูเป็นต้น เมื่อจะดำเนินการอายัดในต่างประเทศ จะต้องตรวจสอบว่าหลักสากล KYC ทำกันอย่างไร โดยเฉพาะกลุ่มผู้รับประโยชน์ในทอดสุดท้ายว่าใครเป็นผู้รับเงิน และยังรวมไปถึงการตรวจสอบผู้สอบบัญชี ว่ามีพฤติกรรมไปเกี่ยวข้องรู้เห็นเป็นใจหรือไม่ หากพบว่าเกี่ยวข้อง ปปง. ก็ควรที่จะเสนอให้ DSI แจ้งข้อกล่าวหากับผู้ตรวจสอบบัญชีเพิ่มเติม ที่สำคัญไม่ควรจะหยุดแค่การยึด อายัดทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นเงินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกแปลสภาพไปแล้วแต่ควรที่จะเน้นไปที่การขยายผลเอาตัวคนผิดมาดำเนินคดี
อย่างไรก็ตามที่ประชุม นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด สภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอตั้ง นายดนุพร ปุณณกันต์ เป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามและศึกษาคดีฉ้อโกง บริษัทสตาร์ค คอเปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นระบบต่อไป.
Discussion about this post