เมื่อวันที่ 31 ต.ค.66 ที่ลานสำนักสงฆ์วัดป่าช้างขาวบ้านป่าหมาก หมู่ 8 ต.ศาลาลัย อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีนีขันธ์ ว่าที่พันตรีอดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบฯ รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการ จ.ประจวบฯ เป็นประ ธานเปิดกิจกรรมงานประเพณีบุญล่องแพ แห่พระ ครั้งที่ 9 เนื่องในวันออกพรรษาของชุมชนบ้านป่าหมาก มี นายณธกร เต็มชยกุล ปลัดอาวุ โส อ.สามร้อยยอด นางกฤษณา แผ่แสงจันทร์ วัฒนธรรมจังหวัดประจวบฯ นายชาญวิทย์ อุณหสุทธิยานนท์ ประธานสภาวัฒนธรมจังหวัดประจวบฯ นายอาชวันต์ กงกะนันทน์ ผอ.ททท.สำนัก งานประจวบฯ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชาวบ้านส่วนใหญ่มีเชื้อสายกะเหรี่ยงหรือปกาเกอะญอได้แต่งกายชุดประจำเผ่ามาร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง

โดยในช่วงเช้ามีพิธีสงฆ์ ทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง จากนั้นมีการแสดงของเด็กๆ เชื้อสายกะเหรี่ยงจากศูนย์เด็กเล็กบ้านป่าหมากขึ้นแสดงบนเวทีสร้างสีสันความสนุกสนานได้เป็นอย่างดี ต่อด้วยการละเล่นกระทบไม้ของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ถือเป็นการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์และประวัติอันยาวนาน จากนั้นเป็นการนำพระ พุทธรูปปางนาคปรกขึ้นบนแพ มี หลวงพ่อปฐมพร ปฐมวโร ประธานสงฆ์วัดพุทธอุทยานวัดป่าช้างขาวพร้อมด้วยคณะสงฆ์ คณะรองผู้ว่าราช การจังหวัดฯ ล่องแพไปตามลำห้วยระยะทาง 100 เมตรไปกลับ 3 รอบ เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้สัการะเพื่อความเป็นสิริมงคล ขอให้หมู่บ้านมีความร่มเย็นเป็นสุข ส่วนในช่วงบ่ายมีการละเล่นพื้นบ้านต่างๆ มีการแข่งถ่อแพ แข่งมวยลำห้วย เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างความสนุก สนาน และความสามัคคีของชาวบ้านอีกด้วย
หลวงพ่อปฐมพร ปฐมวโร ประธานสงฆ์วัดพุทธอุทยานวัดป่าช้างขาว กล่าวว่า การล่องแพเป็นวิถีชีวิตเดิมของชนเผ่ากะหรี่ยงหรือปกาเกอะญอซึ่งมีมานานแล้วก่อนที่หลวงพ่อจะมา ชาวบ้านกลุ่มนี้เขาอาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำสายนี้ตั้งแต่บนสุดคือตั้งแต่ชายแดนลงมาจนเกือบถึงแม่น้ำปราณบุรี ปัจจุบันมารวมตัวกันตั้งหมู่บ้าน โดยเริ่มตั้งมาประ มาณปี 2549 ประเพณีแห่พระส่วนใหญ่จะมีอยู่ทางใต้ ตรงนี้เดิมเขานับถือเทวดา นับถือผี ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิม แต่พอมีชาวบ้านเริ่มมานับ ถือศาสนาพุทธเริ่มเปลี่ยนมาใช้วิถีชีวิตแบบชาวพุทธ อาตมาเห็นว่าควรจะมีประเพณีที่มันสอด คล้องกัน เห็นว่าในช่วงฤดูกาลออกพรรษาเราจะมีการแห่พระรอบชุมชนและนำลงแพล่องในลำ ห้วยเป็นอุบายในการที่จะสื่อความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งในการจัดงานจะต้องมีการเตรียมงานต้องแบ่งหน้า ที่กันไป ก็จะสร้างความรัก ความสามัคคีให้ชาวบ้าน นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่จะให้เด็กๆ ได้กลับมาบ้าน หรือว่าคนหนุ่มสาวที่ออกไปทำงานนอกหมู่บ้านได้มีโอกาสถึงวันออกพรรษาแล้วกลับมาบ้าน.
Discussion about this post