
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ที่สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ได้พิธีลงนามความร่วมมือหรือเอ็มโอยู “U-Media Hub เครือข่ายผู้สื่อข่าวออนไลน์จังหวัดเชียงใหม่” ของภาคีเครือข่ายด้านสื่อมวลชน มี รศ. ธีรภัทร วรรณฤมล คณบดีคณะการสื่อสารมวลชน มช. นายอัครวิทย์ ระบิน ประธานชมรมผู้สื่อข่าว จ.เชียงใหม่นายกรวุฒิ อาศนะ รองประธานชมรมสื่อออนไลน์เชียงใหม่ น.ส.สราลี แซ่เตี๋ยว กรรมการบริหารฝ่ายปฏิบัติการบจก. เชียงใหม่รายวัน จำกัด เพื่อเปิดใช้
งานห้อง U-Media Hub และห้อง Co-working Space ของกลุ่มสื่อ ที่เป็นพื้นที่กลางในการใช้งานร่วมกันพร้อมฟังกชันสนับสนุนด้าน Hardware, Software และ Human ware สำหรับการพัฒนาเครือข่ายนักข่าวรุ่นใหม่ เพื่อตอบสนองความฉับไว
ของการทำสื่อที่ทันสมัย สอดคล้องกับหนึ่งในนโยบายพัฒนาจังหวัด ที่สำคัญ คือการพัฒนาย่านธุรกิจการค้า Smart Nimmanตั้งแต่หัวถนน จนถึงปลายถนนสายดังกล่าว
รศ. ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักบริการวิชาการ มช.กล่าวว่า เนื่องจากทางสำนักบริการวิชาการ (UNISERV) ยังขาดพื้นที่สร้างสรรค์การทำงานของนักข่าว ในการเขียนข่าว ทำข่าว ทำคอนเทนต์ หรือเป็นพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยน จึงเกิดแนวคิดในการสร้างห้อง U-Media Hub ขึ้น “ห้อง U-Media Hubเพื่อเป็นจุดศูนย์รวมนักข่าวที่เข้าใช้บริการหรือแถลงข่าว โดยมุ่งเน้นด้านการบริการอำนวยความสะดวกในการใช้สถานที่และตั้งเป็นจุดรวมตัวของนักข่าวทุกสำนักที่
ต้องการทำข่าว อีกทั้งเป็นช่องทางติดต่อประสานงานนักข่าวกับกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์เพื่อสร้างคอนเทนต์และเผยแพร่ไปยังช่องทางสื่อสารต่าง ๆ ในเชิงสร้างสรรค์ด้วย
ต่อมา ได้มีการแถลงข่าวโครงการ “CMUNegative Carbon Parking & Road”เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งเป็นโครงการวิจัยพัฒนาถนนด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย มี รศ.ดร.พีรพงศ์
จิตเสงี่ยม ผู้นำเสนอโครงการและเป็นนักวิจัยชั้นแนวหน้าของไทย ภาควิชาวิศวกรรมโยธาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. ได้ศึกษาการนำเศษวัสดุทางการเกษตรมาทำเป็นวัสดุ Carbon removal materials เป็นหนึ่งในส่วนผสมของซีเมนต์ เพื่อทำถนนคอนกรีตแบบใหม่และเทคนิคการลาดยาง
ถนนแบบซับน้ำ เพื่อนำน้ำไปใช้ประโยชน์ไม่ขังบนถนน มี รศ.ดร.พีรพงศ์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และ นำเสนอแนวทางการดำเนินงาน โดยบริษัท CPAC องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ และภาคีเครือข่ายวิจัย ให้
ความร่วมมือในครั้งนี้ มีการวางเป้าหมายให้แล้วเสร็จก่อนพิธีพระราชทานปริญญาบัตร พร้อมกับการร่วมเฉลิมฉลอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครบรอบ 60 ปี ในช่วงมกราคม ปีหน้า
รศ.ดร.พีรพงศ์ กล่าวว่า นวัตกรรมดังกล่าวนักวิจัย มช. เป็นผู้คิดค้นรายแรกของโลกเพื่อสร้างมาตรฐานการทำถนนและราดยางแบบปลอดคาร์บอน ให้เป็นที่ยอมรับในเวทีโลก ซึ่งการลงทุนเท่าเดิม แต่ช่วยลดมลพิษและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อลดโลก
ร้อน ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศากระทบต่อมนุษยชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
ทั้งนี้ ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตั้งเป้านโยบาย Carbon Neutral Universityโดยมีประธานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ A2 คือ รองอธิการบดี รศ.ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร โดยนำร่องวิจัยพัฒนา “ลานจอดรถและถนนแบบ Low Carbon” ในพื้นที่ลานการ
ใช้ประโยชน์ร่วมระหว่าง สำนักบริการวิชาการ (UNISERV) และสมาคมนักศึกษาเก่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งกำหนดแล้วเสร็จ 25 มกราคม ปีหน้าด้วย
/////////
Discussion about this post