
เมื่อค่ำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ที่พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา อ.เมือง จ.เชียงใหม่นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดแข่งขันขันซอพื้นบ้านล้านนา รอบชิงชนะเลิศ เพื่อส่ง
เสริมเยาวชน สืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในโอกาสครบรอบ 76 ปี สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีลานนาไทย เชียงใหม่ ซึ่งมีผู้เข้าแข่งขัน 5 ทีม โดยมีเจ้าเจือจันทร์ ณ เชียงใหม่ ประธานจัดแข่งขันซอพื้นบ้านล้านนา พร้อมคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมตัดสิน ปรากฏทีมชนะเลิศ คือ
คณะดาวล้านนา ได้รับเงินรางวัล 15,000
บาท พร้อมถ้วยรางวัล
ส่วนชนะเลิศรอง อันดับ 1 คณะสองสะหรีได้รับเงินรางวัล 12,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2 คณะ สุวิทย์–ลำจวน ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล และรางวัลชมเชยอีก 2 รางวัลคณะเสียงซอป่าซาง และคณะเก็ดถวา ได้รับเงินรางวัลคณะละ 8,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล ตามลำดับ
ปิดท้าย การแสดง การขับซอ ล่องน่าน โดยสองศิลปินช่างซอ ที่มีการขับขาน ด้วยถ่วงทำนองที่ไพเราะ และการฟ้อนด้วยลีลาที่อ่อนช้อย งดงาม ของวัฒนธรรมการขับซอเป็นการเล่าเรื่อง เป็นบทกลอนหรือร้อยเรียงทำนอง ที่ใช้ถ้อยคำให้สอดคล้อง ถ่ายทอดออกมา เป็นถ่วงทำนองได้อย่างไพเราะ โดยที่ไม่มีบทหรือเนื้อร้อง เหมือนกับการขับร้องเพลง ที่มีเนื้อร้อง แต่การขับซอมีแต่เพียงกำหนดหัวข้อว่า จะขับซอเล่าเรื่อง เกี่ยวกับ เรื่องอะไร ศิลปินก็เล่าออกมา เป็นถ่วงทำนองดังกล่าว
นายวรวิทย์ กล่าวว่า จังหวัดพร้อมสนับสนุนเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ พร้อมถ่ายทอดซอพื้นบ้านล้านนาสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นซึงซือพื้นบ้านล้านนา หรือดนตรีพื้นเมืองถือเป็นซอท์ฟเพาเวอร์ ที่นิยมแสดงในงานประเพณีท้องถิ่น อาทิ งานประเพณีเดือนยี่เป็ง
หรือลอยกระทง งานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองหรือสงกรานต์ งานต๋านก๋วยสลาก และงานทำบุญต่าง ๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ชาวล้านนา และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างมูลค่าท่องเที่ยวอีกด้วย
เจ้าเจือจันทร์ กล่าวว่า ซอพื้นเมืองส่วนตัวชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก อยากอนุรักษ์รักษาไว้เพราะในอดีตผู้เฒ่าผู้แก่พูดจาจีบกัน ก็จะซอ เป็นกาพย์กลอน พอถึงปัจจุบันเป็นห่วงว่าจะถูกลืมเลือน เลยต้องการให้เยาวชนได้สืบสานต่อยอด “ซอพื้นบ้าน” ไว้ จึงร่วมกับสมาคมดังกล่าว จัดประกวดซอขึ้นมา และ
ได้รับสนับสนุนจาก น.ส.กชพร เวโรจน์ หรือ
มาดามหยก ที่ปรึกษากิตติศักดิ์จัดประกวดฯ
พร้อมด้วยภาครัฐและเอกชน โดยได้คัดเลือกจาก 14 คณะ เหลือ 7 คณะ ถือประสบความสำเร็จเกินร้อย หวังว่าซอพื้นบ้าน เป็น ซอฟต์
พาวเวอร์แท้จริง ตามนโยบายจังหวัดอีกทางหนึ่ง
////////////
Discussion about this post