วันที่ 27 พย.66 ที่วัดสามัคคีพัฒนาราม ต.นาดี อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี คณะกรรมการวัดและชาวบ้านร่วมกันจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีลอยกระทง แต่งกายชุดออเจ้าชุดไทย
ประวัติวันลอยกระทง วันเพ็ญเดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ในประเทศไทยนั้น ไม่มีหลักฐานระบบแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ ได้สืบต่อกันมายาวนาน ตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เรียกประเพณีลอยกระทงว่า “พิธีจองเหรียญ” หรือ “การลอยพระประทีป” โดยมีหลักฐานจากศิลาจารึกที่ 1 โดยมีนางนพมาศหรือเท้าสีจุฬาสนมเอกของพระร่วง ได้จัดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ ทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระบาทที่แม่น้ำ “นันมาทานที” ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบทของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า “แม่น้ำเนรพุททา” ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง เชื่อว่าเป็นการขอขมาแม่พระคงคา เชื่อว่าเป็นการสักการะรอยพระบาท เชื่อว่าเป็นการลอยความทุกข์ ความเศร้า รวมถึงโรคภัยต่างๆ ชาวไทยในภาคเหนือเชื่อว่าการลอยกระทงนั้น เป็นการบูชาพระอุปคุต

ในกิจกรรมนี้ผู้มาร่วมงานร่วมกันแต่งชุดออเจ้าหรือแต่งชุดไทยมาร่วมงาน และในงานมีการประกวดนางนพมาศชิงเงินรางวัลชนะเลิศ 5,000บาท ชนะเลิศ 3,000 บาท และรางวัลขวัญใจมหาชน 2,000 บาท
และที่วัดกระเดียง ต.นาดี อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี นายสืบศักดิ์ มีสกุล ปลัดอำเภอแาวุโสอำเภอนาดี เป็นประธานเปิดงานลอยกระทงพื้นบ้าน โดยมีนายวัชรพงษ์ ศรีอวน นายกอบต.นาดีร่วมกับผู้นำท้องถิ่นท้องที่และชาวบ้านจัดกิจกรรมลอยกระทงพื้นบ้าน และร่วมลอยกระทงอีกด้วย
Discussion about this post