
อยาก…เล่าเรื่องถึงชายคนหนึ่งชื่อ บัณฑูร ล่ำซำ เมื่อ 2552 มีคนรู้จักหลายคนโทรมาหาบอกอย่างตื่นๆ ว่าเจ้าของธนาคารกสิกรไทย ซื้อโรงแรมน่านฟ้าโรงแรมไม้ 3 ชั้นเก่าแก่ คู่เมืองน่านมาเกือบ 80 ปี เกิดมาเป็นตัวเป็นตน มาเป็นคนน่าน อายุจนจะ 70 ปีแล้ว แม้เราจะไม่ใช่คนดีเด่นอะไรนักหนา แต่ก็สั่งสมประสบการณ์มาไม่น้อย มองบ้านเมืองออกมองคนออก มองเห็นความต้องการ ความมุ่งหวังในจิตใจของคนว่าเขาเป็นคนอย่างไรเขาคิดอะไรกับสังคม มันเป็นศาสตร์ที่คู่มากับคนทำงานการเมือง ผมนี่นิสัยเสียอย่างคือ เสนอความเห็นตรงวิเคราะห์และวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา จึงไม่เป็นที่ชอบใจของคนบางคน เรื่องนี้คงไม่ต้องโทษใคร เพราะนิสัยผมเป็นแบบนี้ชอบก็แชร์ไป รับผิดชอบทุกคำพูดและความคิดอยู่แล้ว ไม่ชอบก็ด่าลับหลังไปไม่ว่ากัน แต่ถ้าด่าต่อหน้ามีสวน555
ประชาชนในเวียง ให้โอกาศมาเป็นนายกเทศมนตรีเมืองน่านปี 2551 เป็นมาจนถึงบัดนี้ อยากเล่าเรื่องถึงชายคนหนึ่งชื่อ บัณฑูร ล่ำซำ เมื่อปี 2552 มีคนรู้จักหลายคนโทรมาหาบอกอย่างตื่นๆ ว่าเจ้าของน่านฟ้าโรงแรม ธนาคารกสิกรไทย ซื้อโรงแรมไม้ 3 ชั้นเก่าแก่คู่เมืองน่านมาเกือบ 80 ปี ที่อยู่ติดกับธนาคาร สงสัยเขาจะรื้อทำเป็นที่จอดรถของธนาคารเสียกระมัง สะดุ้งสิ สอบถามเจ้าหน้าที่ที่ดินจังหวัดเขาบอกว่าโอนไปเรียบร้อยแล้ว มานั่งคิดทบทวนถ้าเป็รเราซื้อ เราจะปรับปรุงโรงแรมแล้วรื้อธนาคารกสิกรเป็นที่จอดรถของโรงแรม มาทราบจาก เจ้าตัว ภายหลังว่าโรงแรมเป็นธุรกิจเล็กๆ ของส่วนตัว ธนาคารเป็นของมหาชนต่างคนต่างอยู่ไม่เกี่ยวกัน หลักจากรีโนเวทโรงแรม เสร็จก็มีข่าวว่าซื้อที่ดินข้างวัดหัวข่วง ชาวน่าน รุ่นเก่าเรียกว่าร้านทองซื่อสัตย์ ทำเป็นที่พักและสำนักงาน ต่อมาคุณปั้น ก็ย้ายทะเบียนบ้านจากกรุงเทพฯ มาเป็นคนนน่าน อย่างใจปรารถนา โดยมีศรัทธาวัดหัวข่วง เห็นว่าได้ช่วยบูรณะศาสนสถานหลายสิ่งอย่างของวัดหัวข่วง
ปี 2554 เกิดมหาอุทกภัยประเทศไทย เริ่มต้นที่จังหวัดน่าน เป็นจังหวัดแรกด้วยพายุไหหม่า ช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2554 นำนองหลวง ครั้งนั้นแม้จะไม่หนักหนาสาหัสเท่าปี 2549 แต่ก็น้องๆ แต่สิ่งที่เสียหายหนักคือ วิหารวัดพวงพยอม โยเฉพาะองค์พระประธานหลวงพ่อขาวยอดขุนพลพวงพยอมปลวกกินหนัก จนพระพุทธรูปองค์ใหญ่จะหงายล้ม ชุมชนได้ใช้เสาปูนค้ำยันไว้ ผมเห็นนี่ปวดหลัง จี้ดเลย ด้วยเหตุชื่อพระพุทธรูปเรียกมาแต่โบราณว่าพระยอดขุนพลพวงพยอมมีนายทหารหลายท่านมาเที่ยวน่าน ที่รู้จักกันผมก็ชวนไปดูและขอให้ช่วยบูรณะซ่อมแซมหลายคนก็หนักใจกลัวจะพังทลายขณะซ่อมแซม แต่ละคนก็หายจ้อยไป
ประมาณปี 2557 คุณบัณฑูร มาทำบัตรประชาชนที่สำนักทะเบียนฯเทศบาลเมืองน่าน ขณะพูดคุยกันได้จังหวะผมขอให้ช่วยซ่อมแซมพระพุทธรูปที่จะล้มของวัดพวงพยอม ท่านบอกไปดูกันก็พาไปดู ท่านก็รับปากว่าจะช่วย หลักจากนั้น 1 เดือน ทีมช่างและวิศวกรมาดำเนินการจนแล้วเสร็จ และปรับปรุงวิหารและเขียนภาพผนังสวยงาม วัดนี้ได้รับความกรุณาอีกครั้ง ตอนพายุพัดหลังคาพัง ต่อมาก็มีข่าวดีตลอดว่าช่วยสร้างวัดโน้นวัดนี้ตลอดไม่ขาด แต่ก็ไม่เคยเห็นมีการโฆษณา ไม่ว่าจะติดป้าน ติดชื่อ ลงเฟสบุ๊ก ลงไลน์ที่ไหน เหมือนปิดทองหลังพระไปเรื่อยๆ
ขณะที่ผมดำรงตำแหน่ง นายกเทศมนตรีและรองนายก อบจ. ได้มีโอกาสตามเสด็จการทรงงาน ในจังหวัดน่าน ของสมเด็จพระเทพฯ พระนามในขณะนั้นหลายครั้ง มีครั้งหนึ่งได้ยินท่านตรัสกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้และนายทหารว่า “เมื่อครั้งตามเสด็จพระเจ้าอยู่หัวมาจังหวัดน่าน ต่างจากปัจจุบันมาก” และทรงตรัสว่ามีคนจะเอาเงินให้ฉัน ใช้เป็นทุนในการแก้ไขปัญหาป่าเมืองน่านฉันไม่กล้ารับ กลัวทำให้เขาไม่ได้
ประมาณปี 2557 คุณปั้น ได้เชิญผู้เกี่ยวข้อง ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองรวมทั้งเจ้าคณะจังหวัดและพระครูพิทักษ์นันทคุณ ลุงหมอบุญยงค์ หมอคณิต และอีกหลายคนที่ห้องผู้ว่าอุกริช พึ่งโสภา จนมาเป็นน่านแซนด์บล๊อค และมูลนิธิรักษ์ป่าน่านในเวลาต่อมา โดยมี สมเด็จพระเทพฯ เป็นองค์ประธาน คุณบัณฑูร เป็นรองประธานสนองพระกรณียกิจนี้ นับเป็นโจทย์ยากที่สุดในชีวิต เชื่อว่ายากกว่าการรีเอ็นจิเนียริ่งช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง จนภายหลังทราบว่าคุณบัณฑูร ลาออกจากทุกตำแหน่งในธนาคารกสิกรไทย ใช้ชีวิตช่วงหลังในจังหวัดน่าน กว่าครึ่ง เดินทางไปทั้ง 99 ตำบลประสานงาน หาข้อมูลพื้นที่ และมีการนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชติโดย GISDA อ่านแปลภาพถ่ายแต่ละปีเป็นเรื่องน่าตกใจ ที่แหล่งผลิตน้ำคุณภาพของประเทศไทย เป็นต้นทุนแม่น้ำเจ้าพระยาหล่อเลี้ยงคนไทยหลายสิบล้านคน ป่าต้นน้ำน่านถูกทำลายหักล้างถางพงโยเลื่อนโซ่และย่าฆ่าหญ้า เพื่อเป็นต้นทุนในการผลิตพืชราคาถูก ป่าต้นน้ำน่านนี้ถูกทำลายหายหมดไป ปีละเกือบแสนไร่ แข่งกับการปลูกป่าโดยหน่วยงานของรัฐละที่ CSR เพื่อการโฆษณาภาพลักษณ์ของบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจ เพียงปีละหลักพันไร่ เลือดไหลออกไม่หยดเติมเลือดไม่ทัน แน่นอนป่าที่ปลูกต้นเล็กเท่านิ้วก้อยรอวันเติบโตด้วยความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ หายนะนี้มีแม่มีกฎหมายที่สามารถจัดการได้มีเจ้าพนักงานตามกฏหมายแต่จะเอาพวกที่ไหนมาขังคนเป็นแสน หน่วยงานของรัฐพ่ายแพ้ถอยร่นจนหมดหนทาง พ่ายแพ้ทั้งรัฐทั้งประชาชน จนหนทางกับวาทะกรรมของชาวบ้านที่บอกว่า “ไม่ให้ปลูกข้าวโพดและจะให้ทำอะไรกิน” ชนกับวาทะกรรมของคนทั้งประเทศว่า คนน่านทำลายป่าจนเขาหัวโล้นไปหมด (ปัจจุบันน่านแซนบล๊อคร่วมกับ คทช.ป่าหยุดการทำลายเพิ่มแล้ว) คุณปั้นเล่าว่ายิ่งออกไปหาข้อมูลนที่เพื่อหาทางแก้ไขยิ่งพบว่าคุณภาพชีวิตของคนน่านจำนวนมากที่อยู่ในเขตป่าขาดแคนจนน่าตกใจ ว่าเค้าใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างไรยิ่งคุณภาพชีวิตในการเข้าถึงระบบสาธารณสุขหลายแห่งขาดแคลนระบบรองรับหลายแห่งได้รับงบประมาณมาก่อสร้างอาคารสำคัญแต่ทำไม่เสร็จ ผู้รับเหมาทิ้งงานการนำผู้ป่วยเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลชุมชนอำเภอก็ขาดแคนยานพาหนะ คุณปั้นเล่าว่าไปมากกว่า 170 แห่งสถานพยาบาลทั้งเล็กและใหญ่ ใช้เงินมูลนิธิรักษ์ป่าน่านไปหลายร้อยล้านเพื่อแก้ปัญหานี้ ยังไม่รวมถึงอาคารอุบัติเหตุฉุกเฉิน อาคารรังสี และอาคารจอดรถเกือบ พันล้าน
ย้อนรำลึกในความทรงจำวันอังคาร ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 คุณบัณฑูร เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงกับชาวน่านได้ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองสมเด็จพระเทพฯ 5 รอบ 60 พรรษาที่จะคบรอบพระชนมายุ 2 เมษายน 2558 อย่างยิ่งใหญ่อลังการถ่ายทอดโทรทัศน์ไปทั่วโลกคนรู้จักจังหวัดน่าน กล่าวขานถึงน่านกันคึกคัก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เลื่อนการประชุม ครม. ขนคณะรัฐมนตรีมาร่วมงานนี้ อย่างคับคั่งข้าราชการระดับสูงของประเทศ ทุกกระทรวง ทุกรัฐวิสาหกิจ เจ้าสัวระดับประเทศมาร่วมงานที่ข่วงเมืองสถานที่จัดงานถูกเผยแพร่ไปทั่วประเทศ ทำให้ภายหลังคนหลั่งไหลมาเที่ยวน่านอย่างโกลหล
คนในเมืองเองก็ได้รับไมตรีไม่น้อยกว่าชนบท กุฎิไฟไหม้ วัดวาอารามต่างๆก็ได้รับการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ โรงเรียนจุมปีและอีกหลายโรงเรียนก็ได้รับการสนับสนุนกันถ้วนหน้า จนบางคนสงสัยว่าคุณบัณฑูร ทำขนาดนี้หวังประโยชน์อันใดจากน่านเหรอ นั่งนึกนอนนึกมากว่า 10 ปี น่านมีอะไรให้หวังเหรอทำกิจการที่น่าน อะไรก็ไม่มี ห้างสรรพสินค้าก็ไม่ได้ทำกิจการรับเหมาก่อสร้างก็ไม่มี จะเป็น สส. สว. ก็ไม่เห็นสนใจหรือจากกว้านซื้อที่ดินแข่งกับนายทุนบางคนก็ไม่ใช่
สงสัยว่าทำไมรักเมืองน่าน ผูกพันกับเมืองน่าน จนถึงขนาดเขียนนิยายเล่มหนา เสน่หามนตราล้านนาด้วยตัวเอง ลูกสาวคนโตก็ให้มาช่วยสอนที่โรงเรียนสตรีศรีน่านกว่า 2 เดือน ลูกชายคนโตก็ให้มาบวชที่วัดพระธาตุช้างค้ำ แล้วก็ไปจำวัด ที่วัดอรัญวาส กว่า 6 เดือน ลูกชายคนเล็กสมัครเป็นพลทหารที่ มทบ.38 ผมเคยเสนอให้รางวัล “พลเมืองเกียรติยศเมืองน่าน” บอกไม่ขอรับ จึงขอให้เป็นตัวแทนเป็นผู้มอบให้ท่านอื่น เคยเป็นไกด์เกียรติยศต้อนรับเจ้าหญิงเลอาแห่งประเทศเบลเยี่ยมมาเที่ยวเมืองน่าน จนน่านดังทะลุโลก
สำหรับโครงการปรับปรุงศาลากลางเก่าจะเห็นด้วยหรือเห็นต่าง คงต้องให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ชี้แจงในฐานะเป็นผู้เชิญมูลนิธิรักษ์ป่าน่าน มาช่วยทำและบริหารและเสนอร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดเห็นชอบ สำหรับบทความวันนี้เขียนเพราะคนบางบางคนที่เรียกตัวเองว่า “หม่าหิน เกิดกับต่า กำลังส้มต๋า หม่าหินงามข้ามต่า” คนคนหนึ่งที่รักเมืองน่านยอมจ่ายทุกการแก้ปัญหาแทนรัฐที่ล่าช้า แน่นอนเงินในกระเป๋าเป็นของเขา เขาคงไม่ได้ช่วยทุกเรื่องราวที่เขาขอ หรือช่วยซื้อที่ดินทุกแปลงที่เราเสนอขาย คงไม่ใส่เงินในซองผ้าป่า ซองกฐินทุกซองที่ไปฝากไว้ “หมั่นไส้ จึงพุ่งเป้าไปที่โครงการ หรือไม่เห็นด้วยกับโครงการ จึงพุ่งเป้าไปที่คน” รักคือการร่วมทุกข์ร่วมสุข คือ นิยามที่ดีที่สุดของความรัก หากสุขด้วยกันได้แต่ทุกข์ด้วยกันไม่ได้ก็ไม่รู้ว่าความรักนี้จะมีความหมายหรือคุณค่าอันใด วันนี้เป็นวันเริ่มต้นชีวิตคู่หนักนิดเบาหน่อยก็ให้อภัยกัน ต่างมาจากคนละครอบครัวมีเรื่องต้องให้เรียนรู้ทุกวัน การรู้จักให้อภัยและขอโทษจะทำให้ชีวิตคู่เดินหน้าไปได้ การแต่งงานไม่ใช่การครอบครองชีวิตของอีกฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นการแชร์พื้นที่การใช้ชีวิตร่วมกัน ที่สำคัญเรายังคงจำเป็นที่จะปรับมีพื้นที่ส่วนตัวให้กันและกันด้วย แรกคบกันความรักสำคัญกว่าสิ่งใด พอแต่งงานกันไปความเข้าใจความเชื่อใจจะทำให้ชีวิตคู่เดินหน้าไปได้ อย่าคิดมากกับคิดไปเอง
Discussion about this post