
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 เวลา 17:30 น. ณ ข่วงเมืองน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นายประพัทธ์ รัตนอรุณ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาขีวศึกษา เป็นประธานในพิธี จัดการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับภาค (ภาคเหนือ) ประจำปีการศึกษา 2566 ระหว่างวันที่ 9-11 มกราคม 2567 เพื่อคัดเลือกตัวแทนเข้าสู่การประกวดสิ่งประ ดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ระดับชาติ
โดยมี นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวต้อนรับคณะมีผู้เข้ร่วมงานในครั้งนี้ พลตรีคณิศร อาสมะ ผู้บัญชาการมณฑลมหารบกที่ 38 นายศิริโชค พิพัฒน์เสรียรกุล ศึกษาธิการจังหวัดน่าน พร้อมคณะผู้บริหาร คณะกรรมการดำเนินงาน หัวหน้าส่วนราชการ ดร. นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา เข้าร่วมในพิธีเปิด
สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีวิสัยทัศน์ “ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงเพื่อการพัฒนาประเทศ” และกำหนดนโยบายและจุดเน้นการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในการพลิกโฉมภาพลักษณ์อาชีวศึกษายุคใหม่ด้วยการบูรณาการนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ และองค์ความรู้ อาชีวศึกษาสู่ชุมชน สังคม ประเทศชาติและนานาชาติ OVEC Show & Share นั้น เพื่อเป็นการดำเนินงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์นโยบายและจุดเน้นดังกล่าว จึงได้จัดการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ประจำปีการศึกษา2566 ขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการคิดให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษา พัฒนาเจตคติ ทักษะการแก้ปัญหาความสนใจในการเรียนรู้ ยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนให้เยาวชนอาชีวศึกษาได้คิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ให้มีคุณภาพ ทันสมัย ได้มาตรฐาน สามารถนำไปใช้งานได้จริงตรงตามความต้องการของผู้ใช้ในชุมชน สังคม โดยมีสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษาได้สนับสนุนให้มีการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับภาค (ภาคเหนือ ประจำปีการศึกษา 2566 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาร่วมกับสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดน่านจึงได้กำหนดจัดงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ระดับภาคเหนือประจำปีการศึกษา2566 ระหว่างวันที่ 9 - 11 มกราคม 2567 เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการจัดการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ให้มีเวทีสำหรับครูบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียนอาชีวศึกษาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ให้มีมาตรฐานเทียบได้ในระดับสากลรวมทั้งบูรณาการนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และองค์ความรู้อาชีวศึกษาสู่ชุมชน สังคมประเทศชาติและนานาชาติซึ่งในการจัดการประกวดสิ่งประดิษฐ์ฯครั้งนี้ได้มีผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษานักเรียนและนักศึกษาจากสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาภาคเหนือจำนวน 17 จังหวัดเข้าร่วมการประกวด โดยมีการประกวด 6 ประเภท ประเภทละ 24 ผลงาน รวมจำนวนทั้งสิ้น 144 ผลงาน ดังนี้ ประเภทที่ 1 สิ่งประดิษฐ์ด้านการเกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ประเภทที่ 2 สิ่งประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัสปัญญาประดิษฐ์ ประเภทที่ 3 สิ่งประดิษฐ์ต้านพลังงานสิ่งแวดล้อม ประเภทที่ 4 สิ่งประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีอาหาร ประเภทที่ 5 สิ่งประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (HEALTH CARE) ประเภทที่ 6 สิ่งประดิษฐ์ด้านผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียน – นักศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีทักษะการเรียนรู้และสร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ โดยเกิดบูรณาการการนำองค์ความรู้ในการประดิษฐ์ คิดค้นสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพนำไปใช้งานสู่ชุมชนและสังคม เพื่อคัดเลือกตัวแทนเข้าสู่การประเมินสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2566 นับเป็นกิจกรรมที่ดีมีประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาของอาชีวศึกษา เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิด พัฒนาเจตคติ ทักษะการแก้ปัญหา ความสนใจในการเรียนรู้ ยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนให้เยาวชนอาชีวศึกษา และเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ว่า”ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงเพื่อการพัฒนาประเทศ” ภายใต้แนวคิด “สานงานต่อ ก่อเริ่มงานใหม่ ด้วยหัวใจเดียวกัน” สอดคล้องกับนโยบาย เรียนดี มีความสุข
@@@@@@@@@@@@@@
ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น
0848084888
Discussion about this post