
รศ.วิระศักดิ์ ฮาดดา นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย กล่าวว่าได้ทำหนังสือถึงนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เรื่องยกเว้นและกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ
สืบเนื่องจากพรบ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ของรัฐบาลอยู่ในระหว่างเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่สภาฯ เพื่อพิจารณา ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐมีความล่าช้า โดยคาดว่า พรบ.งบประมาณ
รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จะสามารถบังคับใช้ได้ในเดือนพฤษภาคม 2567 ทำให้เหลือระยะเวลาการใช้จ่ายงบประมาณในปี 2567 เพียง 5 เดือน ซึ่งที่ผ่านมากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตาม พรบ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ปี 2560 ได้กำหนดการจัดซื้อจัดจ้างในกรอบวงเงินที่เกิน5 แสนบาทต้องใช้วิธีการประกาศเชิญชวนทั่วไป (e-bidding) ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานาน ประกอบกับหากมีผู้ประกอบการ (บางราย) มีการยื่นอุทธรณ์ ทำให้ยืดระยะเวลาการลงนามในสัญญาจ้างต้องใช้เวลาหลายเดือน

เป็นเหตุให้เกิดความล่าช้าในการใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 3,000 แห่งทั่วประเทศ หรือหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างในกรณีเงินอุดหนุนจากภาครัฐซึ่งได้กำหนดห้วงระยะเวลาการจัดซื้อจัดจ้าง ,การลงนามในสัญญาจ้างและการเบิกจ่ายงบประมาณแก่ผู้รับจ้าง จะทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทัน อาจทำให้งบประมาณนั้นเป็นอันพับไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ผู้ได้รับประโยชน์โดยตรง
ดังนั้นทางสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทยจึงขอเสนอให้กระทรวงการคลังได้พิจารณาพิจารณายกเลิกหนังสือที่ กค (กวจ) ๗๐๔๐๕.๒/ว๗8 ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๕แบะกลับมาใช้ระบบเดิมคือการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก ตาม ว.8๔๕ เป็นนโยบายที่ดีและเหมาะสมที่สุด เนืื่องจากจะ
สนับสนุน ส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ในจังหวัดให้มีงานทำหน่วยงานของรัฐ สามารถคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีคุณภาพ มีผลงานที่ดีได้ เป็นการส่งเสริมให้มีการ ซื้อขายในพื้นที่ ส่งเสริมให้เงินหมุนเวียนในพื้นที อีกทั้งการเสนอราคามีความเป็นธรรมเพราะหน่วยงานของภาครัฐจะคัดเลือกตรวจสอบคุณสมบัติผลงาน
ที่ผ่านมาของผู้ประกอบการ SME ก่อนจะคัดเลือกให้เสนอราคาและหน่วยงานของรัฐจะได้งานที่มีคุณภาพมากขึ้นลดปัญหาเรื่องคุณภาพของงานเพราะผู้ประกอบการ
SME จะได้ราคาที่เป็นธรรม ลดปัญหาการทุจริตและการละทิ้งงาน
อีกทั้งยังมีมาตรการป้องกันการสมยอมราคา, ระบบตรวจสอบโดยภาคประชาชนอยู่แล้วและสามารถปฏิบัติได้ง่ายมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน
Discussion about this post