
วันนี้ (26ม.ค.67) เวลา 09.00 น. นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานการประชุมเพื่อชี้แจงผลการจัดทำแผนพัฒนาทางหลวง (กลุ่มย่อย ครั้งที่ 2) การศึกษาจัดทำแผนพัฒนาทางเลี่ยงเมือง เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรบริเวณเขตเมืองในภูมิภาค โดยมี นายสัญญพงศ์ ต่อสหะกุลเจริญ รองประธานหอการ ค้าจังหวัดอุดรธานี หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน ร่วมประชุม ที่ห้องกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ชั้น 5 อาคาร 1 ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี
ปัจจุบันพื้นที่ชุมชนและเขตเมืองได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาค มีการเจริญเติบโดทางด้านเศรษฐกิจการลงทุน ไนภาคธุรกิจอุตสาหกรรม การค้า และการขนส่งสินค้า การเพิ่มขึ้นของแหล่งที่พัก ที่อยู่อศัย ห้างสรพสินค้าและแหล่งท่องเที่ยว ส่งผลให้โครงข่ายทางหลวงในปัจจุบันที่มีระยะทางกว่า 53.000 กิโลเมตรทั่วประเทศต้องรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งบางเส้นทางที่ตัดผ่านพื้นที่ชุมชนและเขตเมือง มีการพัฒนาทางหลวงจนเต็มความกว้างของเขตทางทำให้ไม่สามารถก่อสร้างเพิ่มช่องจราจรเพื่อรองรับความต้องการในการเดินทางที่มากขึ้นได้และประสบกับปัญหาการจราจรติดขัด เกิดความลำช้าในการเดินทาง สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง รวมถึงบางครั้งมีปัญหาอุบัติเหตุ กรมทางหลวงจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาพิจารณาวางแผนพัฒนาก่อสร้างโครงข่ายทางเลี่ยงเมืองในพื้นที่ชุมชนและเขตเมืองหลักโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอัตราการเติบโตของปริมาณการจราจรสูงเพื่อแยกปริมาณการจราจรที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางผ่านพื้นที่เมืองเพื่อลดผลกระทบด้านการจราจรที่ติดขัดในเขตเมือง และช่วยพัฒนาพื้นที่ให้เกิดการกระจายความเจริญไปสู่พื้นที่รอบนอก กรมทางหลวงจึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วยบริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท ซีตี้ แพลนโปรเฟสชั่นนอล จำกัดและบริษัท ธรรม ชาติ คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาทางเลี่ยงเมือง เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรบริเวณเขตเมืองในภูมิภาค อันจะเป็นการลดปัญหาการจราจรและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ทั้งนี้ ในขั้นตอนการศึกษาปัจจุบันเป็นการจัดทำแผนพัฒนาโครงข่ายทางเลี่ยงเมืองทั่วประเทศ ซึ่งได้กำหนดแนวเส้นทางโครงการเบื้องต้น และจัดทำรายการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental checklist) หากจะมีการพัฒนาโครงการในอนาคตจะมีการศึกษาความเหมาะสม รวมถึงการสำรวจและออกแบบรายละเอียด ซึ่งจะได้ข้อยุติและรายละเอียดของแนวเส้นทางโครงการที่ชัดเจน รวมถึงมีการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อไป
การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่โครงการที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นโครงข่ายทางเลี่ยงเมือง เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสมเบื้องต้นทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรมและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาทางเลี่ยงเมือง เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาโครงข่ายทางเลี่ยงเมือง เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยมีแผนพัฒนาแนวทางเลี่ยงเมืองเบื้องต้น จากการพิจารณาศัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นโครงข่ายทางเลียงเมืองจากในขั้นตอนการคัดกรอง จัดทำเป็นบัญชีรวม และคัดกรองเพื่อให้ได้เป็นบัญชีเพื่อพิจารณา รวมทั้งสิ้นในเขต 29 จังหวัด โดยแนวเส้นทางเลียงเมืองในเขจังหวัดอุตรธานี มีทั้งสิ้น 4 พื้นที่ได้แก่ อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอกุมภวาปี อำเภอบ้านดุง และอำเภอบ้านผือ
แนวเส้นทางเสี่ยงเมืองอำเภอเมืองอุดรธานีตำบลนากว้าง ตำบลกุดสระ ตำบลหมูม่นและตำบลเชียงยืน.
Discussion about this post