วันที่ 31 ม.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางจิตรอักษร ทวีสุข ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดบางลี่ (พานิชอุทิศ) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ได้นำคณะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดบางลี่ (พานิชอุทิศ) จัดกิจกรรมปลูกต้นอ่อนทานตะวัน ตามโครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น ปลูกผักรักษ์โลก เน้นกิจกรรมปลูกผักสวนครัว เพื่อให้นักเรียนได้แง่คิด จากการลงมือทำแปลงเกษตรอินทรีย์ การปลูกผักสวนครัวด้วยตนเอง พร้อมสอดแทรกความสนุกเพลิดเพลินลงไปในวิชาการ ชนิดที่เรียกได้ว่า แบบเรียนปนเล่น เพื่อเสริมทักษะชีวิต และฝึกทักษะอาชีพให้กับนักเรียนได้ซึมซับความรู้ด้วยตนเอง อย่างไม่รู้สึกเบื่อหน่าย เพื่อให้เกิดทักษะด้านอาชีพ สามารถนำไปต่อยอด หรือนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ในอนาคต

นางจิตรอักษร กล่าวว่า ทั้งนี้โครงการปลูกผักรักษ์โลก โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น นายธีระยุทธ กิตตินภวัฒน์ ผู้อำนวยการ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดบางลี่ (พานิชอุทิศ) ร่วมกับ นางบังอร อาจวิชัย รองผู้อำนวยการเชี่ยว ชาญ พร้อมด้วย น.ส.เบญจวรรณ เทพธานี หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดบางลี่ (พานิชอุทิศ) ได้ดำเนินการเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการปลูกผักรักษ์โลก โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น มาโดยตลอด ซึ่งเป็นนโยบายของ นางชนิษา วิมลวัฒนา นายกเทศมนตรีเมืองสองพี่น้อง จัดให้มีโครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น ปลูกผักรักษ์โลก เน้นกิจกรรมการปลูกผักสวนครัว และกิจ กรรมหนูน้อยปลูกผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหารให้นักเรียนลงมือทำ เสริมทักษะชีวิต นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย มีสุข ภาพแข็งแรง เติบโตสมวัย ส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดี และเติบโตเป็นพลเมืองคุณภาพเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติ
นางชนิษา วิมลวัฒนา นายกเทศมนตรีเมืองสอง พี่น้อง กล่าวว่า ตามที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีนโยบายให้โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ดำเนินการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น ปลูกผักรักษ์โลก เพื่อขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึก ษาใน 5 มิติ คือด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการ เกษตร เพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัย ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่นักเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีทักษะในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ อย่างมีวิจารณ ญาณ บนหลักการของความพอประมาณ มีเหตุ ผล มีภูมิคุ้มกัน โดยมีความรู้ และคุณธรรมกำกับเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติภารกิจหน้าที่เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างสมดุล
“ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำมาใช้ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงในการปลูกผักปลอดสารพิษ ในโรงเรียนโดยให้ปลูกผักที่กิน และกินผักที่ปลูก เป็นการปลูกฝังให้เด็ก นำมาปรับใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน รวมทั้งเป็นการสร้างคุณลักษณะอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง และต่อยอดไปถึง การสร้างจิตสำนึก ความตระหนักในเรื่องอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ และการอนุ รักษ์สิ่งแวดล้อมโดยไม่ใช้สารเคมีที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป้าหมายให้เด็กไทยมีสุขภาวะที่ดี และได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป” นางชนิษา กล่าว.
Discussion about this post