เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สท นช.)ลงพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ติดตามสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำหน้าแล้ง พร้อมเร่งแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างยั่งยืน
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.30 น.ห้องประ ชุมเทศบาลตำบลห้วยโพธิ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมคณะเข้าติดตามการดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 และติดตามสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงการขาดแคนน้ำในพื้นที่ ต.ห้วยโพธิ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค บริ โภคบ้านดงสวาง ม.5 ต.ห้วยโพธิ์ อ.เมืองกาฬ สินธุ์ พร้อมประเมินสถานการณ์น้ำต้นทุนที่ใช้ผลิตน้ำประปาอ่างเก็บน้ำห้วยโพธิ์ 1 ใน 17 อ่างเก็บน้ำขนาดกลางในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของโครงการชลประทานกาฬสินธุ์ และเป็นแหล่งน้ำที่ใช้ผลิตน้ำประปา แต่ปัจจุบันขาดการพัฒนาและปรับปรุงมานานหลายปี จนมีวัชพืชจำนวนมาก ระดับน้ำตื้นเขิน ส่งผลให้ปริมาณน้ำไม่สะดวก ประกอบกับคุณ ภาพน้ำมีปัญหาประชาชนเดือดร้อน โดยมีนายธวัชชัย รอดงาม รองผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ นายวิรัช พิมพะนิตย์ ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 1 นายพลากร พิมพะนิตย์ ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 2 หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ

จากนั้นเวลา 13.30 น.วันเดียวกัน ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. พร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำต้นทุนที่ใช้ผลิตประปา ต.สามขา อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ และโรงผลิตน้ำประปาหมู่ที่ 14 หนองโป่งคำ อบต.สามขา ซึ่งเป็นแหลงผลติน้ำประปาให้กับประชาชน โดยมีนายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ นายประเสริฐ บุญเรือง ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 6 นายวีรดนย์ ศิริ นายอำเภอกุฉินารายณ์ นายภูมินทร์ ภูมิเขตร ส.จ.อำเภอกุฉินารายณ์ พร้อมด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนชาว ต.สามขา ให้การต้อนรับและเสนอปัญหา
นอกจากนี้คณะสทนช.ยังได้ลงพื้นที่รับฟังสถาน การณ์พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำของ ต.ท่าลาดดงยาง อ.ห้วยเม็ก พื้นที่ ต.หนองหิน อ.หนองกุงศรี และได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์แหล่งน้ำต้น ทุนที่ใช้ผลิตน้ำประปาในพื้นที่ ต.หลักเหลี่ยม อ.นามน จ.กาฬสินธุ์ อีกด้วย
ด้านนายธวัชชัย รอดงาน รองผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า จากการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญทราบว่าสถานการณ์เอลนีโญอาจส่งผลกระทบถึงช่วงเดือนมิถุนายน 2567 จ.กาฬ สินธุ์ จึงได้เตรียมความพร้อมและแจ้งสั่งการให้ภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้แจ้งมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้จัดทำโครง การ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยา กรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จำนวน 1,010 โครงการ งบประมาณ 1,722,260,600 บาท เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่
โดยจังหวัดให้ความสำคัญในการจัดลำดับความสำคัญของแผนงานโครงการฯ ใช้ข้อมูลพื้นที่ภัยแล้งของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติร่วมกับข้อมูลพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.กาฬสินธุ์ เป็นเกณฑ์ในการจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการพิจารณาสนับสนุนผลักดันจากท่านเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เพื่อให้จังหวัดสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้อย่างตรงจุดและบรรลุผลเพื่อประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนต่อไป
ด้าน ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า การลง พื้นที่ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ จะเน้นการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำเฉพาะหน้า เพื่อไม่ให้ประชาชนขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคในเชิงรุกในการหาน้ำต้นทุนในการผลิตน้ำประ ปา ส่วนวัตถุประสงค์รอง เพื่อรับฟังสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำ มีโครงการไหนที่ต้องการให้ สทนช.ร่วมขับเคลื่อนก็ยินดีให้การสนับสนุนเพื่อให้การแก้ปัญหาเกิดความยั่งยืนต่อไป
Discussion about this post