เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจาก ผศ.ดร.บุญญาพร ดวงสา ผู้อำนวยการสถาบันชุณหะวัณฯ เพื่อการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอี อย่างยั่งยืน มทร.อีสาน หัวหน้าโครงการ ซึ่งได้เปิดเผยว่า มทร. อีสาน โดยสถาบันชุณหะวัณฯ ได้รับการว่าจ้างจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ให้เป็นที่ปรึกษาดำเนินโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชนผู้ใช้งานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ที่ออกแบบสำหรับทุกคน (Inclusive design) และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive technology) ใน 4 ภูมิภาค 5 พื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคอีสาน ที่ จ.ขอนแก่น ภาคกลาง ที่ จ.พระ นครศรีอยุธยา ภาคเหนือ ที่ จ.เชียงใหม่ ภาคใต้ ที่ จ.สงขลา และกรุงเทพมหานคร โดยดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในพื้นที่ ดังนี้ 1. จ.ขอนแก่น หน่วยร่วม คือ มทร.อีสาน วข.ขอนแก่น 2. จ.อยุธ ยา หน่วยร่วม คือ มทร.สุวรรณภูมิ 3. จ.เชียงใหม่ หน่วยร่วม คือ มทร.ล้านนา 4. จ.สงขลา หน่วยร่วม คือ มทร. ศรีวิชัย และ 5. จ.กรุงเทพมหานคร หน่วยร่วม คือ มทร.กรุงเทพ โดยครั้งที่ 1 จัดไปแล้วที่ จังหวัดขอนแก่น ณ โรงแรมนาดี อ.เมือง จ.ขอนแก่น ระหว่างวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2567
ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญญาพร ดวงสา ผู้อำนวยการสถาบันชุณหะวัณฯ เพื่อการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างยั่งยืน มทร.อีสาน หัวหน้าโครงการ ได้กล่าวรายงานการจัดงานต่อประธานในพิธี โดยมี ดร. อารีรัตน์ เชื้อบุญเกิด โนท คณบดีคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.อีสาน วข.ขอนแก่น ตัวแทน รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา โดยได้รับเกียรติจาก ท่านต่อพงศ์ เสลานนท์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน) เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จาก กสทช.
ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งกลุ่มผู้ใช้งาน และคุ้มครองสิทธิผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และทุกคนที่อยู่ในสภาวะความต้องการได้เข้าถึงสื่อการเรียนรู้และใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน การจัดโครงการในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สมาคมคนตาบอด แห่งประเทศ ไทย, สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย, สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย), สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย, ชมรมคลังปัญญาผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่น, รวมถึง นักวิชาการและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง.
ภัสสะ บุญธรรม.ขอนแก่น.
Discussion about this post