เมื่อเวลา 10.30 น วันที่ 2 มีนาคม 2567 ที่บริเวณชั้น 2 ศูนย์เทคโน โลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น นายสุคนธ์ นาเมืองรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 เป็นประธานพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)กับภาคีเครือข่ายระดับอินเตอร์ ได้แก่นายวีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ซิโก้ ซิสเต็มส์ ประเทศไทยจำกัด ,ผศ.ภานุพงษ์ วันจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการและวิศวกรรมข้อมูลคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รศ.ดร.ศิรเดช บุญแสง คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ดร. กรอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร นายกสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย ในการนี้มีนางอารีย์ มูลดามาตย์ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น, ดร.กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์ ครูเชี่ยวชาญ หน.สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมทั้งมี ดร.อาทิตย์ กลีบรัง เป็นผู้ดำเนินรายการ ตลอดจน คณะอาจารย์ และนักศึกษา ร่วมงาน
นายสุคนธ์ นาเมืองรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 กล่าวว่า พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ด้านเทคโนโลยีปัญญาประ ดิษฐ์(AI) ในวันนี้ นับเป็นความร่วมมือทางเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ครั้งแรกของอาชีวะไทย ที่ภาคีเครือข่ายระดับอินเตอร์อาทิเช่น บ.ซิสโก้ ซิสเต็มส์ ประเทศ ไทยจำกัด สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ร.ร.กมลาไสย และ ศูนย์เทคโนโลยปัญญาประดิษฐ์ วอศ.ขอนแก่น ได้ร่วมมือพัฒนาผู้เรียน ผู้สอน บุคลากร ของอาชีวศึกษาอย่างเข้มข้น นอกจากนั้นจากนั้นยังกล่าวถึงการพัฒนาหลักสูตรในอนาคตให้เป็นในลักษณะ Credit Bank ให้คนสนใจเฉพาะด้าน AI เรียนแล้วไปเทียบโอนวุฒิในระดับ ปวช. ปวส. และ ป.ตรี ได้
ด้าน รศ.ดร.ศิรเดช บุญแสง คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนืเทศสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่าที่มาร่วมงานในวันนี้เพื่อแสดงความร่วมมือ ในแง่ของการให้เทคโนโลยี และเครื่องมือต่างๆเพื่อให้ อาชีวะของเราเป็นที่พึ่งของประเทศได้ โดยเฉพาะเรื่องปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเรื่องปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง ชีวิตของพวกเราในอนาคต เพราะฉะนั้นผ่านความรู้ของน้องๆ มีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะพัฒนาประเทศ ถ้าน้องๆมี AI ที่เข้าใจและรู้เท่าทันปัญญาประดิษฐ์ และนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ประเทศเรา มีเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ เป็นอย่างดี
อีกทั้งเรื่องของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานของเราที่มีบุคลากร หรือประชากรที่มีความหนาแน่นเป็นอันดับ 1 เศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยเฉพาะเรื่องปัญญาประดิษฐ์ coding ต่างๆ ก็จะช่วยให้ยกระดับ ประชากร ทั้งในแง่รายได้ และคุณภาพชีวิต หลายๆอย่างในตอนนี้ปัญญาประดิษฐ์หรือGenerative สามารถทำงานที่บ้านได้ สามารถที่จะสร้างรายได้ จากการพัฒนา Application ต่างๆ สามารถส่งต่อให้กับสินค้าที่ไปใช้ในต่างประเทศได้ ซึ่งวันนี้เองทางกลุ่มพันธมิตร ได้พูดไว้กลุ่มใหญ่ๆอย่างบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ เช่น บริษัท ซิโก้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,สจล. และผู้ประกอบการด้านปัญญาประ ดิษฐ์ และที่สำคัญบุคลากรด้านสายอาชีวศึกษา ซึ่งจะเป็นกำลังที่สำคัญในอนาคตต่อไป
ส่วน นายวีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ซิโก้ ซิสเต็มส์ ประเทศไทยจำกัด กล่าวว่าบริษัท ซิสโก้ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ในการร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ซิสโก้เรามองว่าในการเพิ่มศักยภาพ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญ AI จะช่วยให้อีโคซิสเต็มเติบโตมากกว่า 160 ล้านๆ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ประเด็นสำคัญในการเซอร์เวย์ของเราซิสโก้ เพื่อในการเซอร์เวย์พัฒนาบริษัท มีความตระหนักในด้านพัฒนา AI สู่ธุรกิจที่มีความพร้อม ในการนำไปใช้งาน ในการร่วมมือครั้งนี้ พร้อมที่จะส่งเสริมและผลักดัน ผู้ประกอบการ ที่จะนำ AI มาใช้งานจริง ซึ่งทางซิสโก้มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่จะให้ความร่วมมือในครั้งนี้
ดร. กรอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร นายกสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง และสนับสนุน ให้ความร่วมมือกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น ซึ่งทางเรายินดีแนะนำในการใช้เทคโนโลยีแก่น้องๆ นักศึกษา ในการนำ AIมาใช้งานจริง ส่วนเทคโนโลยีของไทยในสายงานสิ่งประดิษฐ์ด้าน AI ในปัจจุบันนี้ แล้วเรามีสามารถยินดี ที่จะรับเด็กฝึกงาน หรือทดลองงานในบริษัทของเรา เพราะตลาดในปัจจุบันมีความต้องการสูง และทุกบริษัทขาดแคลนบุคลากรที่จะเข้ามาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และตัวพนักงานที่มีความอัจฉริยะ เป็นอันดับ 1 ของโลก
ขณะเดียวกัน ดร.กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์ ครูเชี่ยวชาญ หน.สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวว่า นอกจากพิธีลงนามความร่วมมือด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ดังกล่าวแล้ว ยังมีการเสวนา AI Technology Talk : จากแลปสู่ร้อยล้าน ! โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์สูง แชร์ประสบการณ์ ประกอบด้วย รศ.ดร.ศิริเดช บุญแสง จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ผศ.ดร. ภาณุพงษ์ วันจันทึก ผอ.ศูนย์วิทยากรและวิศวกรรมข้อมูล มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ดร.กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร นายกสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย โดยมี ดร.อาทิตย์ กลีบรัง เป็นผู้ดำเนินรายการ.
ภัสสะ บุญธรรม/ขอนแก่น
Discussion about this post