ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ผ่านมายางพาราในภาคใต้ประสบปัญหากับโรคใบร่วง ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากควันพิษจากประเทศอินโดนิเซีย ทำให้ผลผลิตลดลง ราคายางก็ตกต่ำ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถแก้ไขได้ เกษตรกรชาวสวนยางพาราส่วนใหญ่จำใจโค่นยางหันมาปลูกทุเรียนกันเป็นจำนวนมาก แต่ยังมีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ไม่มีกำลังทุน ยังต้องทนกับราคายากที่ตกต่ำแล้วยังต้องทนกับโรคใบร่วงในต้นยางทำให้ขาดรายได้เข้าครอบครัว
นายอัสมัน โตะเกะ เกษตรกรที่หันมาปลูกทุเรียนอย่างจริงจัง เปิดเผยว่าพื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิ วาส เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกยางพารากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ในปัจจุบันราคายางตกต่ำมากและมีโรคระบาดใบร่วงชนิดใหม่ที่ระบาดมาจากประ เทศอินโดนิเซีย นอกจากใบร่วงแล้วยังทำให้ผล ผลิตก็ลดลงอย่างมาก ทำให้เกษตรกรไม่นิยมปลูกยางพารา แต่ก็ยังมีเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ไม่มีงบประมาณที่ยังปลูกยางพารา แต่มีเกษตร กรอีกจำนวนมากที่มีทุนมากหันไปปลูกทุเรียน เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ทีมีมูลค่าสูงกว่าและให้ผลผลิตได้ดี
นายอัสมัน ยังเผยว่าที่ผ่านมาตนเองก็ได้ทำสวนทุเรียนมาแล้ว แต่ปลูกเพียง 5 ไร่ 10 ไร่ ยังไม่สามารถไปต่อได้เนื่องจากขาดสภาพคล่อง จึงร่วมกับเพื่อนๆมารวมกลุ่มเพื่อระดมทุนเปิดเป็นบริษัทหันมาทำสวนทุเรียนแปลงใหญ่ สำหรับแปลงที่ปลูกใหม่มีเนื้อที่ 25 ไร่ เป็นพันธ์หมอนทองทั้งหมด ประมาณ 500 ต้น อายุปลูก 4 เดือน ตนคิดว่า 5-10 ปี ข้างหน้า ราคาทุเรียนยังดีอยู่ ประกอบกับชาวจีนนิยมบริโภคทุเรียนมาก คิดว่าในอนาคตข้างหน้าความต้องการการบริโภคของชาวจีนจะเพิ่มเป็น 2 เท่า
นายอัสมัน ยังเผยอีกว่าเชิญชวนเกษตรกรที่มีกำลังหันมาปลูกพืชที่มีมูลค่าสูงเช่นทุเรียน เพราะจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น สามารถผลิตทุเรียนส่งขายประเทศจีนนำเม็ดเงินเข้ามาในพื้นที่ จึงอยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาเส้นทางเข้าออกให้ดีกว่านี้ เนื่องจากพื้นที่ตรงนี้อยู่ใกล้เมือง เพื่อนำผลผลิตได้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะไฟฟ้า ประปา จะทำให้เกษตรกรเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น มาทำเกษตรมากขึ้น ซึ่งพื้นที่ตรงนี้มีเนื้อที่ถึง 1000-2000 พัน ไร่ หากมีการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคก็ จะสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรได้เป้นอย่างดี.
Discussion about this post