
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 18 มีนาคม 2567 ที่ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดแพร่ (สนามบินแพร่) ตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายคุณากร ปรีชาชนะชัย ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวอัยรินทร์ พันธุ์ฤทธิ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) นายจักรี พลเจริญ คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวีระ คำกอง คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวง และการบินเกษตร นายวีรวัฒน์ อังศุพาณิชย์ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร นายราเชน ศิลปะรายะ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร นายภักดี จันทร์เกษ ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการฝนหลวง นายอนุชิต สุขนรินทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการปฏิบัติการฝนหลวง นายราเชน ศิลปะรายะ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร นายฉันติเดชโยธิน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์บรรยากาศประยุกต์ นายรังสรรค์ บุตรเมือง ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ นายธนพล พันทอง หัวหน้าสถานีเรดาร์ฝนหลวงร้องกวาง นางสาวเครือวัลย์ แสงโพธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง(จังหวัดแพร่) ว่าที่ร้อยตรีวงศกฤต ช่างปรีชา นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ นายรัฐธนินท์ วัฒนะศิริโกศล นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล นายนิยม วิวรรธนดิษฐ์กุล นายทศพร เสรีรักษ์ สส.แพร่
ส่วนฝ่ายราชการในจังหวัดแพร่ มี นายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ นายชัยสิทธิ์ ชัยสัมฤทธิ์ผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ นายสมศักดิ์ สุขประเสริฐ นายอำเภอเมืองแพร่ หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในจังหวัดแพร่ และมี นายศักดา รอบโลก นายสนั่น จินดามณี นางวิไลวรรณจินดามณี อาสาสมัครกรมฝนหลวงจังหวัดแพร่ กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดแพร่ ให้การต้อนรับ
สำหรับพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่ง
ประสบกับปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 อยู่ในขณะนี้ ทางกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เล็งเห็นว่าหากสามารถเจาะชั้นลบรรยากาศให้โล่งก็จะ
ทำให้ชั้นบรรยากาศเป็นช่องว่างให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศได้ จึงได้ใช้เครืองบิน บรรทุกน้ำแข็งแห้งและน้ำเย็นขึ้น
โปรยเพื่อให้เกิดการดึงดูดความชื้น จนกลายเป้็นช่องว่างระหว่างชั้นบรรยากาศให้ฝุ่นลอยขึ้นไปได้
นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า วันนี้ได้มาติดตามให้กำลังใจการทำงานคณะศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดแพร่ (สนามบิน) ในพื้นที่จังหวัดแพร่ได้เริ่มปฏิบัติการฯ เมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดแพร่ (สนามบินแพร่) เพื่อที่ช่วยแก้ไขปัญหาหมอกควันได้ การปฏิบัติการฝนหลวง นอกจากจะขึ้นบินเพื่อทำฝนหลวงแก้ไขปัญหาภัยแล้งแล้ว โดยมีการตรวจสภาพอากาศทุกวันก่อนปฏิบัติการ และวันนี้(18 มีนาคม 2567 ได้มาดำเนินการที่จังหวัดแพร่โดยใช้ท่าอากาศยานแพร่เป็นฐาน ซึ่งพื้นที่เหนือเขื่อนสิริกิติ์ มีสภาพอากาศที่เหมาะสมกับการปฏิบัติการฝนหลวง คาดว่าจะสามารถทำฝนหลวงให้ฝนตกได้ในพื้นที่ 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดแพร่ พะเยาลำปาง และอุตรดิตถ์ เพื่อจะลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในบรรยากาศได้ และอีกวิธีหนึ่งคือการขึ้นบินเพื่อจะโปรยน้ำเย็นในชั้นบรรยากาศเพื่อลดอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศเพื่อให้เกิดช่องในชั้นบรรยากาศเพื่อจะระบายฝุ่นละอองจากท้องฟ้าลอยขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ
“แต่ติดปัญหาในเรื่องของวัตถุดิบซึ่งคือน้ำแข็งแห้งที่มีข้อจำกัด คือการผลิตที่จังหวัดระยอง โดยผลิตได้วันละ 20 ตัน แต่ เมื่อเราขนมาใช้ประสิทธิภาพก็จะลดลง จึงใช้น้ำเย็นทดแทนในการโปรย โดยการบินมีวนในลักษณะของกันหอย เพื่อเปิดชั้นบรรยากาศให้เป็นช่องให้ฝุ่นสามารถลอยหลุดไปยังชั้นบรรยากาศได้ แต่ข้อจำกัดอีกอย่างคือ เมื่อทำเสร็จแล้ว เป็นลักษณะโยนหินลงน้ำ ซึ่งมันก็จะกลับมาเป็นลักษณะเดิม ซึ่งต้องทำวันละหลายรอบ การใช้ฐานการบินที่จังหวัดแพร่ซึ่งได้วิเคราะห์สภาพอากาศในแต่ละวัน และวันนี้มีความพร้อมในการปฏิบัติการฝนหลวงและคาดว่าจะมีฝนตกในช่วงเย็นได้”
ธีรพงษ์ ธงออน/แพร่
Discussion about this post