เมื่อเวลา 17.30 น.วันที่ 30 เมษายน 2567 ที่ลานด้านหน้าบ้านวงศ์บุรี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ได้มีการจัดแถลงข่าว “กิจกรรมดอกลมแล้งบาน สงกรานต์หม้อห้อม@ แพร่ นำโดย นายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ นายอนันต์ สีแดง ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานแพร่ นายโชคชัย พนมขวัญ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแพร่ นายจักริน เป็นบุญ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ นางเสาวลักษณ์ วิสุทธิผล ตัวแทนภาคเอกชน นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดแพร่

นายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้กล่าวว่า การที่จังหวัดแพร่ได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 10 เมืองรองที่จะยกระดับสู่เมืองท่องเที่ยวหลัก ที่มีการส่งเสริมการลงทุน และการให้อินเซ็นทีฟในพื้นที่ เพื่อ
ขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุน กรสร้างแลนด์มาร์กด้านการท่องเที่ยว
อาหาร วัฒนธรรม และส่งเสริมเอกลักษณ์อัตลักษณ์วัฒนธรรมไทยที่ดีเชื่อมโยงโครงการ One Family One Soft Power (OFOS) โดยใน
ปิงบประมาณ 2567 จังหวัดแพร่ได้วางแผนขับเคลื่อนและส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวต่อเนื่องตลอด ทั้งปี ตั้งแต่ต้นปิ้งบประมาณ โดยเราตั้งเป้าหมายรายได้จากการท่องเที่ยวไว้ที่ 3,500 ล้านบาท และประกอบกับในปีนี้ยูเนสโก (UNESCO) ประกาศให้ “สงกรานต์ไทย” ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ และเลือกใช้ภาพสงกรานต์จากจังหวัดแพร่ เป็นภาพหลักในการประกาศและเผยแพไปในช่องทาง Social Media ต่างๆ และบนเว็ปไซสำนักข่าวทั่วโลก จังหวัดแพร่จึงควรใช้โอกาสนี้ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และเชิญชวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางมาสัมผัสบรยากาศสงกรานต์แพร่ ซึ่งได้รับการกล่าวขานว่า เป็นสงกรานต์ที่นานที่สุดในภาคเหนือ หรือสงกรานต์ท้ายสุดของล้านนา มีความเป็นเอกลักษณ์ ด้วยคนที่มาเนน้ำจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าหม้อห้อม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวยังจังหวัดแพร่ ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจกระจายรายได้อันเกิดจากกระแสความนิยมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวมากขึ้น
ด้วยปัจจุบันกระแสการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์(Creative Tourism)
กำลังเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มนักท่องเที่ยวเนื่องจากเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนได้แลกเปลี่ยนเยนรู้เพื่อทำความเข้าใจในคุณค่าทางสังคมวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างลึกซึ้งผ่านประสบการณ์ตรงร่วมกับเจ้าของพื้นที่ นับเป็นโอกาสอันดีของจังหวัดแพร่ซึ่งมีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีประเพณีที่สวยงาม เป็นเอกลักษณ์ ที่สามารถนำมาเป็นจุดขายในกลุ่มตลาดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวระยะยาวอย่างต่อเนื่องได้ ในโอกาสนี้ จังหวัดแพร่จึงอนุมัติงบประมาณจัดกิจกรรมส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว Phrae Creative Culture Cityภายใต้โครงการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และพัฒนาการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืนโดยบูรณาการการจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานต่างๆในจังหวัดแพร่ จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในชื่องาน “ดอกลมแล้งบาน สงกรานต์หม้อห้อม @แพร่” ในระหว่างวันที่ 11 – 21 เมษายน 2567 ณ พื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดแพร่ ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สำคัญ ดังนี้
องค์การบริหาสวนจังหวัดแพร่ ร่วมกับ อำเภอร้องกวาง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดกิจกรรม “สืบสานประเพณีถ้ำผานางคอย”
ระหว่างวันที่ 11 – 13 เมษายน 2567 เป็นการนำเสนอของดี 10 ตำบล ในพื้นที่อำเภอร้องกวาง
-อำเภอลอง ร่วมกับเทศบาลตำบลห้วยอ้อ กำหนดจัดกิจกรรม สงกรานต์ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 12 – 16 เมษายน 2567
-เทศบาลเมืองแพร่ จัดเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2567 ภายใต้ชื่อ
“ดอกลมแล้งบาน สงกรานต์เมืองแป้ น่งหม้อห้อมแต้ งามตา” ระหว่างวันที่ 13 – 17 เมษายน 2567 บริเวณข่วงวัฒนธรรมเมืองแป้ (กาดสามวัย) และในเขตเทศบาลเมืองแพร่ มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น จุดสะโปัก การประกวดการทำลาบ การแข่งชันก่อเจดีย์ทราย กิจกรรมหม้อห้อม ล้อมสะโตก ขบวนแห่สงกรานต์รถแกงคั่ว เป็นต้น
-อำเภอเด่นชัย ร่วมกับเทศบาลตำบลเด่นชัย จัดประเพณี “สงกรานต์เด่นชัย ร่วมใจสรงน้ำพระเจ้าแสนแซ่” วันที่ 16 เมษายน 2567 ณ ริมฝ่ายแม่พวก หน้าที่ว่าการอำเภอเด่นชัย ประกอบด้วย ขบวนแห่สงกรานต์ และขบวนสรงน้ำพระเจ้าแสนแซ่ เป็นต้น
-อำเภอเมืองแพร่ ร่วมกับเทศบาลตำบลวังหงส์ประเพณีดำหัวหงส์
(ป้าเวณีดำหัวหงส์) ประจำปี 2567 วันที่ 16 เมษายน 2567 ณ อนุสรณ์ สถานตำนานหงส์ ตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ภายในงานชมขบวนเครื่องสักการะดำหัวหงส์ตามประเพณี ประกอบด้วยขบวนตุงแบบโบราณล้านนา ขบวนฟ้อนรำถวายพญาหงส์ ขบวนเครื่องสักการะล้านนา การแสดง แสง เสียง นาฎลีลา ตอน “ประวัติศาสตร์ชาววังหงส์” ที่มีประวัติศาสตร์การสร้างบ้านแปงเมืองเชื่อมโยงกับเมืองเก่าแพร่
-สงกรานต์หม้อห้อมแพร่ วันที่ 17 เมษายน 2567 ณ ถนนเจริญเมือง
อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
-อำเภอวังชิ้น มีการจัดเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 16 – 21
เมษายน 2567 มีประเพณีพื้นบ้าน เช่น แห่น้ำขึ้นโฮง ทำขวัญช้าง โดย
หมอทำขวัญที่มีชื่อเสียง และประเพณีแห่น้ำช้าง ซึ่งจัดขึ้นทุกวันที่ 21 เมษายน ของทุกปี
นับเป็นโอกาสอันดีของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว ของที่ระลึก ของฝากที่จะได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาสงกรานต์ และเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัดแพร่ ให้เพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่าตลอดปี 2567 นี้ จังหวัดแพร่ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี เพื่อเป็นการส่งเสริม และกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยว มุ่งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว สู่มูลค่า 3,500 ล้านบาท ให้กับจังหวัดแพร่ และพัฒนาเมืองแพร่ เมืองรอง ที่มีศักยภาพด้านเศษฐกิจ ทั้งมิติการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ให้เป็นเมืองหลักด้านการท่องเที่ยว
จึงอยากจะขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยทั่วประเทศ และชาวต่างชาติ มาสัมผัสประเพณีสงกรานต์ “ดอกลมแล้งบานสงกรานต์หม้อห้อม @แพร่” ประเพณีที่งดงามของคนจังหวัดแพร่ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ แล้วท่านจะประทับใจในจังหวัดแพร่ ไม่มีวันลืม
ธีรพงษ์ ธงออน/แพร่
Discussion about this post