
วันที่ 1 พ.ค.67 ณ วัดหมอกจำแป่ ต.หมอกจำแป่ อ.เมือง จ.แม่ฮ่อง สอน นายสมศักดิ์ ณ มาตคำ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหมอกจำแป่ พร้อมด้วย นางถนอม ณ มาตคำ กำนันตำบลหมอกจำแป่ นำคณะศรัทธาประชาชนตำบลหมอกจำแป่ ทั้ง 9 หมู่บ้าน ประ กอบด้วย หมู่บ้านหมอกจำแป่ หมู่ที่ 1 บ้านแม่สะงา หมู่ที่ 2 บ้านห้วยขาน หมู่ที่ 3 บ้านห้วยโป่งอ่อน หมู่ที่ 7 บ้านทบศอก หมู่ที่ 8 บ้านยอด หมู่ที่ 9 บ้านนาป่าแปก หมู่ที่ 4 บ้านห้วยมะเขือส้ม หมู่ที่ 5 และบ้านรักไทย หมู่ที่ 6 นำอาหารคาวหวาน ข้าวหม้อ แก้งหม้อ และจตุปัจจัยไทยธรรม เพื่อทำพิธีขอขมาพระสงฆ มีพิธีขอขมาพระสงฆ์ ถวายจตุปัจจัยไทยทาน พระสงฆ์อนุโมทนา และถวายภัตตาหารเพล เป็นเสร็จพิธี
พิธีขอขมาพระสงฆ์ หรือกั่นต่อโหลงนี้ มีการปฏิบัติเป็นประจำทุกปี ที่ได้สืบทอดมาช้านานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ โดยจะมีพิธีขอขมาพระสงฆ์ หลังจากที่มีการเฉลิมฉลองประเพณีสงกรานต์ ก็จะมีการขอขมาผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้มีพระคุณ ครูบาอาจารย์ เพื่อเป็นการร่วมอนุรักษ์ไว้ซึ่งวัฒน ธรรมประเพณีอันดีงามของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
สำหรับพิธีขอขมาพระสงฆ์ หรือกั่นตอโหลง เป็นประเพณีความเชื่อ ความศรัทธาของชาวไทใหญ่ที่มีต่อพระสงฆ์องค์พระเจ้า ทุกครั้งที่มีงานเทศกาลสำคัญต่างๆ ก็จะมีการขอขมาพระสงฆ์หลังจากสิ้นสุดเทศกาลนั้นๆ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษต่อสิ่งที่ได้กระทำล่วงเกิน ด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม และเป็นการอโหสิกรรมต่อกัน ซึ่งชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนจะถือเอาพิธีการกั่นตอ หรือขอขมานี้ เป็นประเพณีที่สำคัญอย่างยิ่ง
ประเพณีกั่นตอ ถือเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวไทใหญ่นิยมปฏิบัติกันใน เดือนห้า (เมษายน) และเดือนสิบเอ็ด (ตุลาคม) เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นยาวนานกว่า 150 ปีมาแล้ว ซึ่งชาวไทใหญ่ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน หลายพื้นที่ ยังคงรักษารูปแบบดั้งเดิมไว้ได้เป็นอย่างดี
หัวใจของประเพณีกั่นตอการขอขมา หรือการรดน้ำดำหัว คือการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีของผู้น้อย ที่มาขอขมาลาโทษ ที่อาจเคยล่วงเกินพระสงฆ์ บุพการี ญาติผู้ใหญ่ และเป็นการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวนั่นเอง.
ฉลอง หมั่นสกุล จ.แม่ฮ่องสอน
Discussion about this post