
เมื่อเวลา 9.00 น. วันที่ 24 พฤษภาคม 2567 การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ร่วมกับเทศบาลตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ได้ร่วมกันประชุมปรึกษาหารือเรื่องรูปแบบการก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ(Overpass ) ในพื้นที่ ตำบลห้วยหม้าย จำนวน 2 แห่ง ที่ กม.585 และ 586 ครั้งที่ 2 โดยมี นายศุภณัฎฐ์ ตระกูลร่องพืชนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลห้วย หม้าย เป็นประธานในที่ประชุม และมี นายธนกริช อภิรักษ์วิสุทธิ์ คณะทำงานพรรคก้าวไกลจังหวัดแพร่ เข้าร่วมสังเกตการณ์ ในที่ประชุมได้พิจารณาว่ารูปแบบทางตัดผ่านชนิดใดที่จะก่อประโยชน์สูงสุด กล่าวคือ ด้วยจุดทั้งสองแห่งที่จะสร้างสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ(Overpass)นั้นเป็นเพียงถนนที่ตัดผ่านทางรถไฟเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรมและเข้าอ่างเก็บน้ำ ที่ไม่ใช่ถนนหลักในการสัญจรของประชาชนทั่วไป ไม่ได้เชื่อมโยงระหว่างหมู่บ้าน ตำบล จังหวัด และไม่มียวดยานปริมาณมาก ดังนั้นเพื่อให้เหมาะสมกับท้องที่และวิถีชิวิตชาวบ้าน ให้เกษตรกร สัตว์เลี้ยง สัญจรผ่านข้ามทางรถไฟ ได้รับความสะดวกสบายไม่ลำบาก และลดภาระค่าใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้าท้องถิ่นในอนาคต
โดยมีมติที่ประชุมเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบการก่อสร้าง จากสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ(Overpass ) จำนวน 2 แห่ง ให้เป็นชนิดถนนลอดใต้ทางรถไฟ( Underpass) จำนวน 4 แห่ง ของถนนทางตัดผ่านทางรถไฟในท้องที่ใกล้เคียงนั้น โดย 2 แห่งหลักที่ตรงจุดสร้างสะพานฯเดิมมีความกว้าง 2×4 เมตร และความสูง 5.5 เมตร เพื่อให้รถเกี่ยวข้าวและรถแบ๊คโฮว์ที่มีความสูงลอดผ่านได้ และอีก 2 จุดข้างเคียงให้มีความกว้าง 4 เมตร สูง 5 เมตร และให้มีถนนเรียบทางรถไฟเชื่อมระหว่างคู่ทางลอดนั้น โดยการรถไฟฯได้รับข้อเสนอนำไปออกแบบก่อสร้างให้สอดคล้องต่อไป
และเวลา 13.30 น. ณ.ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดยมี นางวารีรัตน์ เขตต์บรรพตต์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุน เป็นประธาน และมี นายธนกริช อภิรักษ์วิสุทธิ์ คณะทำงานพรรคก้าวไกลจังหวัดแพร่ เข้าร่วมสังเกตการณ์
สำหรับการประชุมหาเรื่องรูปแบบสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ (Overpass) ในพื้นที่ตำบลบ้านหนุนจำนวน 1 แห่ง ที่ กม.600 โดยมีเหตุผลความจำเป็นและปัจจัยต่างๆ เช่นเดียวกันกับ 2 แห่งที่ในเขตท้องที่ตำบลห้วยหม้าย มติที่ประชุมลงความเห็นต้องการเปลี่ยนแปลงจาก สะพานรถยนต์ข้างทางรถไฟ
(Overpass) 1 แห่ง ให้เป็นทางลอดใต้ทางรถไฟ(Underpass) 1 แห่ง โดยเป็นชนิดสะพานโค้ง ความกว้าง 8 เมตร และความสูง 5 เมตร เช่นเดียวกับหลายแห่งในท้องที่อำเภอเด่นชัย ที่ก้าวหน้าสวยงามเป็นไวรัลโด่งดังในขณะนี้ และถนนทางเลี้ยวและถนนเลียบทางขอให้ติดตั้งเสาไฟฟ้าแสงสว่างชนิดโซล่าเซลล์ ซึ่งการรถไฟฯได้รับไปดำเนินการออกแบบแก้ไขเช่นเดียวกันต่อไป
นายธนกริช อภิรักษ์วิสุทธิ์ กล่าวว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนกับผล
กระทบที่จะได้รับในโครงการก่อสร้างทางรถไฟเด่นชัย-เชียงราย ที่ควรได้รับการแก้ไขให้มีผลกระทบกับวิถีชาวบ้านน้อยที่สุด และทางบริษัทผู้รับเหมา ได้แก้ไข ตามที่ชาวบ้านชาวบ้านในพื้นที่ต้องการ ให้แล้ว
โดยการทำประชาพิจารณ์ ทั้งเทศบาลตำบลห้วยหม้ายและองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุนที่ทางรถไฟตัดผ่านในพื้นที่ ทั้งสองตำบล โดยแก้ไขจากแบบเดิม ที่ได้ออกแบบไว้ก่อน จากสะพานข้ามทางรถไฟแบบ Over pass เป็นแบบ under pass ทั้ง 3 จุด ทำให้ประหยัดงบประมาณไปได้ถึง 80 กว่าล้านบาท และสามารถนำงบที่เหลือส่วนนี้ มาใช้ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้ทางรถไฟในส่วนอื่นๆของแพร่ได้อีก
ธีรพงษ์ ธงออน/แพร่
Discussion about this post