สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯเป็นการส่วนพระองค์เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุม The 1st International agricultural forum 2024. Neo- Regional Development On biodiversity Agricultural sustainability ณ หอประชุม วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติ ฯ ซึ่งเป็นเวทีเกษตรนานาชาติครั้งที่ 1 ในจังหวัดน่าน ในการยกระดับการสัมมนาของมูลนิธิรักษาน่าน โดยมี วิทยาลัยสงฆ์นครน่านมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติฯ และ หน่วยงานพันธมิตรรวมทั้งหมด 12 หน่วยงานร่วมกันจัดขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 600 คนจาก 10 ประเทศได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลด้านการเกษตรในการพัฒนาเทคโนโลยี สร้างเครือข่าย แก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนและนำไปสู่การแก้ปัญหาป่าต้นน้ำ ในงานมีการลงนามในปฏิญญาน่านหรือ “NAN Declaration” โดยมี ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรองค์การมหาชน นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงองค์การมหาชน และ นาย Li Xuejun อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรยูนนาน ร่วมลงนาม ในบันทึกข้อตกลง เพื่อการพัฒนาการศึกษาด้านเกษตร เพื่อพัฒนายกระดับผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างไทย-จีน มีงานมีการสัมมนาทางวิชาการ 3 ภาษา นิทรรศการ นวัตกรรมการเกษตร และสินค้าท้องถิ่นกว่า 80 ราย

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้กล่าวส่งกล่าวชื่นชม การจัดงานดังกล่าวว่าจะเป็นการร่วมกันแก้ปัญหา ป่าต้นน้ำ ให้คนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ปัญหา ป่าต้นน้ำไม่ใช่เป็นของหน่วยงานหนึ่ง หน่วยงานใด ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันแก้ปัญหา ทำให้น่านจังหวัดน่านเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาคนอยู่ร่วมกับป่า เป็นสิ่งที่ดีและเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆได้ต่อไป
สำหรับปฏิญญาน่าน “NAN Declaration” นั้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านการเกษตรผ่านโครงการ “น่าน sandbox” แสดงเจตจำนงในการสร้างศักยภาพการวิจัยและพัฒนา ผลไม้และพืชเขตร้อนร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยยูนนาน ของจีน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านการทำงานวิจัยการเกษตรอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสมุนไพร กาแฟ ผลไม้เขตร้อนและเขตกึ่งร้อน และพืชเศรษฐกิจสำคัญ ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือและที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้จะมีส่วนช่วยในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาภาคการเกษตร การส่งเสริมด้านการเศรษฐกิจและการค้า การรักษาไว้ซึ่งสมดุลของธรรมชาติและความยั่งยืนของประเทศไทย เพื่อให้เกษตรกรชาวจังหวัดน่านมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ชาวบ้านอยู่ดีมีสุข โดยใช้หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านโครงการหลวงซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานไว้เป็นเวลา 55 ปีแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยเหลือชาวบ้านได้ ทุกอย่างต้องพัฒนาบนพื้นฐานความรู้ การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2567
ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น
Discussion about this post