
วันที่ 7 มิ.ย.67 เวลา 09.00 น. ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนหนองดู่ ต.นาใน อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดโครงการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนในโรง เรียนตำรวจตระเวนชายแดน ร่วมกับการออกให้บริการทันตกรรมของหน่วยทันตกรรมพระราชทาน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยา ลัยขอนแก่น โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์ อชิรวุธ สุพรรณเภสัช คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิท ยาลัยขอนแก่น นายแพทย์กิตติเชษฐ์ ธีรกุลพงศ์เวช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม บุคลากรโรงพยาบาลนครพนม โรงพยาบาลโพนสวรรค์ และผู้เกี่ยวข้องร่วมในพิธี เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรร ษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 มีนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองดู่ และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนคอนราดเฮงเคล เข้ารับบริการ ได้แก่ การเคลือบหลุมร่องฟัน การเคลือบฟลูออไรด์ การขูดหินน้ำลาย การถอนฟัน การทำความสะอาดฟัน เป็น ต้น เพื่อนำไปสู่การป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคในช่องปาก และมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
สำหรับหน่วยทันตกรรมพระราช ทาน เกิดขึ้นจากความห่วงใยของพระบาทสมเด็จพรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อปี 2513 ด้วยมีพระราชประ สงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลที่ยังเข้าถึงบริการด้านทันตกรรมในภาครัฐได้เพียงจำนวนเลขน้อย และสืบเนื่องจากปีพุทธศักราช 2567 เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษ 6 รอบ หรือ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้น้อมนำพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการ “สืบ สาน รักษา และต่อยอด”จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของนักเรียนในอำเภอโพนสวรรค์ ปี 2566 พบว่า เด็กอายุ 6 ปี และ12 ปี มีฟันแท้ผุร้อยละ 43.28 จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านักเรียนในเขตอำเภอโพนสวรรค์ ยังคงมีปัญหาสุขภาพช่องปากที่อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะปัญหาโรคฟันผุ โดยกลุ่มเป้าหมายที่จัดทำในกลุ่มแรกคือ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อให้นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ได้รับความรู้ด้านทันตสุขภาพ และได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟัน เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติ กรรมด้านทันตสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป
สำหรับหน่วยทันตกรรมพระราช ทาน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิท ยาลัยขอนแก่น ได้ดำเนินการออกหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้บริการด้านวิชาการและบริการทางทันตกรรมให้กับประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ครอบ คลุมสู่ประชาชนในท้องถิ่นที่ห่างไกลตลอดจนผู้ด้อยโอกาส โดยได้ให้บริการผู้ป่วยเป็นจำนวนมากกว่า 3,000 รายต่อปี.
Discussion about this post