
จากกรณีเมื่อเวลา 19.00 น.วันที่ 9 มิ.ย. 67 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า ได้เกิดเหตุเขื่อนริมน้ำบริเวณวัดเชิงเลน ต.ท่าอิฐ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พังทรุดลงมาเป็นแนวยาวกว่า 200 เมตร จึงรีบรุดเดินทางลงไปตรวจสอบ พบพระภิกษุและชาวบ้านจำนวนหนึ่งต่างจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ริมเขื่อน
ความคืบหน้าล่าสุดเมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 10 มิ.ย. 67 นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายทรงสิทธิ์ สุขพานิช ผอ.สำนักงานชลประทานขนาดกลางที่ 11 นายคม ภัทรกุลประเสริฐ ผอ.สักนักงานพุทธศาสนาจังหวัดนนทบุรี นายปรีดา เชื่อผู้ดี นายกอบต.ท่าอิฐ/ที่ปนึกษาจุฬาราชมนตรี นายภิรมย์ ชุมนุม นายอำเภอปากเกร็ด พร้อมด้วยพระครูนนทคุณพิพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดเชิงเลน ลงพื้นที่ตรวจสอบที่เกิดเหตุบริเวณ เขื่อนริมน้ำเจ้าพระยาหลังวัดเชิงเลน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เพื่อตรวจสอบริมเขื่อนที่มีการพังชำรุดเสียหายยาวกว่า 75 เมตร พร้อมประสานผู้เชี่ยวชาญกรมชลประทานด้านออกแบบและธรณีเร่งสำรวจสาเหตุของการทรุดตัวของเขื่อน ที่ทำการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2563 วัดแสงสิริธรรม ถึงริมวัดเชิงเลนความยาวประมาณ 2,235 เมตร งบประมาณก่อสร้าง 469,887,400 บาท ซึ่งตอนนี้หมดสัญญาแล้วในปี 2565
นายสุธี กล่าวว่า จากการตรวจสอบเขื่อนที่พังประมาณ 75 เมตร ซึ่งเขื่อนตัวนี้ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 63 และจุดที่พังสร้างเสร็จมาประมาณ 2 ปี แต่ที่น่าสังเกตุคือจุดนี้เท่าที่ถามคนในพื้นที่ ตรงนี้เป็นจุดน้ำแรงเพราะตรงข้ามกับเกาะเกร็ด ที่มีการจัดน้ำเข้ามา และมีน้ำวน มีโอกาสที่เขื่อนโดนกัดเซาะรุนแรงกว่าตรงอื่น และอยู่ระหว่างการนำดินเข้าหลังเขื่อน เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบ ส่วนสาเหตุทางเทคนิคจริงๆต้องรอให้ทางผอ.ชลประ ทานที่ 11 ส่งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบว่าสาเหตุเกิดจากอะไร สิ่งที่เรากังวลและอยากฝากทางกรมชลฯ เราจะทำการป้องกันในช่วงฤดูน้ำหลากยังไง ช่วงเดือนก.ย.-พ.ย. เพราะช่วงตรงนี้จะมีน้ำเอ่อล้นขึ้นมาที่แนวกำแพงสามารถกันไว้ได้ แต่หากไม่มีกำแพงน้ำก็จะหลากเข้ามาในชุมชน เพราะฉะนั้นเราจะหาทางที่จะป้องกันน้ำหลากในช่วงฤดูน้ำไปก่อน ส่วนการทำถาวรก็ว่าไปตามกระบวนการขั้นตอนต่อไป สิ่งที่จังหวัด ชุมชนท้องถิ่น หรือทางวัดร้องขอคือเข้ามาทำอย่างไร ที่จะกันน้ำให้ได้ในช่วงฤดูน้ำหลากนี้ ก่อนหน้านี้ที่มีเขื่อนบริเวณปากประตูนน้ำคลองบางกรวย ซึ่งตรงนั้นทราบว่ามีน้ำลงต่ำมาก และอยู่ ระหว่างการนำดินไปถมด้านหลังมีน้ำซึมในฤดูฝน ลักษ ณะเดียวกัน แต่ตรงนั้นเขื่อนเก่าและใช้งานมานานกว่า ส่วนตรงนี้ คาดว่ากระแสน้ำที่แรงมีผลต่อโครงสร้าง คุยกับทางผอ.กรมชลประทาน คิดว่าต้องมีส่วน การออกแบบอาจจะต้องให้ทางเทคนิคตรวจสอบและให้ข้อมูล
นายทรงสิทธิ์ กล่าวว่า ในส่วนของกรมชลประ ทานจะส่งผู้เชี่ยวชาญของกรมชล ด้านออกแบบและธรณีฯ ว่าสาเหตุที่มีการทรุดตัวเกิดจากอะไร ในเบื้องต้นคือตรงนี้มีน้ำวนค่อนข้างสูง และมีระดับน้ำในแม่น้ำต่ำ เกิดการแตกต่างของ 2 ฝั่ง ระหว่างน้ำกับหลังคันค่อนข้างมาก น้ำลงมากๆจะมีการไหลกลับเข้า ถ้าไหลรวดเร็วอาจทำให้ดินข้างล่างทรุดตัว และเกิดการเซของกำแพง ขอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเข้ามาตรวจสอบภาย ในวันนี้ เราตรวจสอบแล้วเขื่อนดำเนินการทำตามรูปแบบ ไม่ใช่ไม่มีเหล็ก ลักษณะของกำแพงคล้ายรั้วบ้าน ป้องกันน้ำระดับแนวตั้ง ดินข้างแม่ น้ำเข้าพระยาเป็นดินอ่อน แต่ในรูปแบบของการก่อสร้างของกรมชลประทานสามารถสร้างในดินเลนได้ เสาเข็มถึง มีการทำบันทึกแจ้งไปทางผู้รับเหมาแล้วอยู่ในระยะประกัน มีการส่งงานบางส่วนแต่ยังไม่ส่งมอบทั้งหมดตามสัญญา ซึ่งจริงๆหมดสัญญาไปในปี 65 แต่มีปัญหาเรื่องโควิด จึงทำให้ตอนนี้ยังไม่หมดสัญญา และมีแผนเฟส 3 ตอนนี้อาจจะต้องทบทวนในเรื่องของแบนนการก่อสร้าง ซึ่งเป็นความต้องการของพี่น้องประชา ชนที่ต้องการกำแพงเขื่อนกันน้ำท่วม ตอนนี้ก็จะทำการตรวจสอบร่วมกันกับผู้รับเหมา และให้ผู้รับจ้างเข้ามาดำเนินการแก้ไข.
Discussion about this post