
วันที่ 24 มิถุนายน 2567 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมนายพิชัย เลิศพงษ์อดิศร หรือ ส.ว.ก๊อง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่ ได้นำคณะ ลงพื้นที่บริเวณถนนเลียบทางรถไฟ หลังโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย(ใต้สะพานยกระดับ) ต.หนองหอย อ.เมือง เพื่อติดตามและวางแนวทางการพัฒนาถนนเลียบทางรถไฟ เพิ่มประสิทธิภาพระบบจราจรในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ มีนายวิรัช ตั้งมั่นคงวรกูล โยธาธิ
การและผังเมือง จ.เชียงใหม่ นางจีรพรหวันแดง นายกเทศมนตรีตำบลหนองหอย พร้อมผู้นำชุมชนแขวงกาวิละร่วมลงพื้นที่ เพื่อต้อนรับและให้กำลัง
ใจนายสุรพงษ์ พร้อมสนับสนุนโครงการดังกล่าว โดยใช้เวลา 30 นาที
ต่อมานายสุรพงษ์ นายพิชัย พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการปรับภูมิทัศน์สวนสาธารณะรถไฟ ตรงข้ามสถานีรถไฟเชียงใหม่ ต.วัดเกตุ
อ.เมือง เพื่อติดตามและยกระดับการปรับภูมิทัศน์สวนดังกล่าวของ อบจ.โดยนายพิชัย ได้บรรยายสรุปการพัฒนาและปรับภูมิทัศน์ ซึ่งนายสุรพงษ์ ได้ให้ความสนใจ และสอบถามเป็นระยะ ก่อนนายพิชัย พาชมสวนดังกล่าว ซึ่งนายสุรพงษ์ ถึงกับกล่าว
สั้น ๆ กับนายพิชัย ว่า “ลุยเลย เห็นชอบ” โดยใช้เวลากว่า 30 นาที
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า มาติดตาม 2โครงการ คือ ถนนเลียบทางรถไฟเชียงใหม่-ลำพูน กับสวนสาธารณะรถไฟ ซึ่งโครงการดังกล่าวทำได้เลย
ฝากการรถไฟ ให้ความร่วมมือ อบจ.ทั้งเอกสาร อำนวยความสะดวก และทุกอย่าง เพื่อขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว ส่วนตัวอยากให้เสร็จไว ๆ สิ้นปี
คงเห็น เพราะโครงการดังกล่าวจบที่กระทรวงคมนาคม ไม่ต้องเข้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาอย่างใด เพียงการรถไฟ อนุญาตใช้พื้นที่เท่านั้น
ทั้งนี้ถนนสายดังกล่าว กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้สำรวจและออกแบบเสร็จแล้ว ซึ่งเป็นถนน 2 ใน 8 ช่วงที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ อยากฝากอบจ. เร่งประสานผลักดัน 2 โครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อระบายจราจรที่ติดขัดและแออัดในชั่วโมงเร่งด่วน และลดเวลาเดินทาง ส่วน
งบประมาณสร้าง เป็นไปตามสายงานที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้อง แต่ไม่น่ามีปัญหาอะไร เพื่อรองรับรถ
ไฟทางคู่ความเร็วสูง ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าว มีการพัฒนา และเจริญขึ้น เพราะมีการเชื่อม บขส. เข้ามา
รับผู้โดยสาร รองรับปริมาณคนเดินทางหรือใช้บริการมากขึ้น ตามลำดับ
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ส่วนการพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคม จ.เชียงใหม่ มีโครงการรถไฟใต้ดิน
บริเวณเขตเมืองเก่า เป็นระบบรถราง เพื่อแก้จราจรติดขัด ไม่มีที่จอดรถ ค้าขายไม่สะดวก มีสถานีรับส่ง
ผู้โดยสาร โดยแบ่งเป็นสายสีแดงน้ำเงิน เขียว เริ่มดำเนินการปลายปี 67
ส่วนการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์การบินภาคเหนือ และลุ่มน้ำโขงนั้นได้สร้างอาคารรองรับผู้โดยสารเพิ่ม โดยใช้พื้นที่วิทยุการบินเพื่อระบายผู้โดยสาร ซึ่งได้ประชุมกับผู้อำนวยการการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย และบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยแล้ว และให้ อบจ.มีส่วนร่วมพัฒนาปรับภูมิทัศน์ด้วย
ด้านนายพิชัย กล่าวว่า โครงการพัฒนาถนนเลียบทางรถไฟเชียงใหม่-ลำพูน แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วง
แรกแยกเหมืองง่า ลำพูน ถึงสถานีรถไฟสารภี ระยะทาง 9 กิโลเมตรช่วงที่ 2 แยกถนนมหิดล ด้านหลัง
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่ ระยะทาง 1.9 กิโลเมตร รวมกว่า 12 กิโลเมตร ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมือง ออกแบบเสร็จแล้ว โดยเป็นถนนลาดยางฝั่งละ 2 ช่องทางจราจร รวมเป็น 4
ช่องทางจราจร แบบสวนทางกันได้ซึ่งโครงการดังกล่าว อบจ.ต้องทำบันทึกข้อตกลง หรือเอ็มโอยูขอใช้พื้นที่การรถไฟก่อน คาดทำเอ็มโอยูในช่วงกรกฎาคมนี้ แล้วเสร็จ ก่อนเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พิจารณาเห็นชอบ เพื่อของบ
กลางจำนวน 200 กว่าล้านจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ตามลำดับ หากได้รับงบประมาณแล้ว ต้องเริ่มสร้างภายใน 1 ปีต่อไป
/////////////
Discussion about this post