
วันที่ 21 ก.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณหน้าวัดพระยาตาก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท นายปัญญา ใช้เฮ็ง ปลัดจังหวัดชัยนาท เป็นประธานปล่อยเรือ ในงานประเพณีแข่งขันเรือยาวเข้าพรรษา จังหวัดชัยนาท ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 24 ประจำปี 2567 รอบคัดเลือก
*** สำหรับงานประเพณีการแข่งเรือยาวเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนคนไทยที่อาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำ งานประเพณีแข่งเรือยาวเข้าพรรษาจังหวัดชัยนาท เริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 และได้จัดติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี โดยได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานถ้วยรางวัลให้แก่เรือที่ชนะเลิศการแข่งขันประเภท 40 ฝีพายและ 55 ฝีพาย และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัลให้แก่เรือที่ชนะเลิศการแข่งขันประเภท 30 ฝีพาย ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อประชาชนจังหวัดชัยนาท ชาวเรือและฝีพายทั่วประเทศ
*** โดยการแข่งขันเรือยาวเข้าพรรษา จังหวัดชัยนาท ชิงถ้วยรางวัลใน 3 ประเภท คือ การแข่งขันเรือยาว ประเภท 40 ฝีพาย และประเภท 55 ฝีพาย และการแข่งขันเรือยาว ประเภท 30 ฝีพาย สำหรับการแข่งขันเรือยาวจะถูกจัดขึ้น 2 วัน คือวันที่ 21 กรกฎาคม 2567 ในรอบคัดเลือกที่บริเวณหน้าวัดพระยาตาก อ.เมืองชัยนาท และ วันที่ 22 กรกฎาคม 2567 รอบชิงชนะเลิศ ณ แม่น้ำเจ้าพระยาหน้าเขื่อนเรียงหิน หน้าศาลากลางจังหวัดชัยนาท มีเรือยาวจากทั่วประเทศส่งเรือเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 32 ลำ ได้แก่ประเภท 55 ฝีพาย 8 ลำ ประเภท 40 ฝีพาย 8 ลำ และ ประเภท 30 ฝีพาย 16 ลำ
*** ซึ่งการแข่งขันในแต่ละทีมต่างวัดกันแบบสุดใจเลยที่เดียว เพื่อคว้าชัยชนะ ทำเอาผู้ชมต่างต้องลุ้นกันแบบสุดใจ แต่สิ่งที่เป็นไฮไลท์และสร้างสีสันความสนุกสนามไม่แพ้กับการแข่งเรือยาวนั้นก็คือการพากย์เรือ ด้วยลีลาสุดมันส์จากทีมงาน นักพากย์ฝีปากเอกระดับประเทศที่รวมตัวกันมาสร้างเสียงหัวเราะ ให้ภายในงานนั้นมีความสนุกสนาม เล้าใจ ได้อรรถรสในการรับชมของงานประเพณีแข่งเรือยาวเข้าพรรษา ที่จังหวัดชัยนาท ผู้ที่มาเข้าร่วมชม และประชาชนที่มาดูนั่น ต่างสงสัยและถามกันว่า ปอดเหล็กแน่นอน เอาปอดไปไหนที่ไหน หายใจทันได้อย่างไร พูดอย่างไรให้เร็วและสนุกขนาดนี้
อภิวัฒน์ งามพาณิชยกิจ รายงานจากชัยนาท 0824917974
Discussion about this post