วันที่ 5 สิงหาคม 2567 ที่โรงแรมแกรนด์วิว อ.เมืองจ.เชียงใหม่ นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 10 สู่วิจัยรับใช้สังคม การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยนวัตกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน”The 10th Conference on Research and Creative Innovations (CRCi 2024)RMUTL EXPO ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอผลงานวิจัย ของนักวิจัยในระดับชาติ และพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในระดับสาขาคณะ และมหาวิทยาลัย ในระดับชาติ โดยมี รศ.ดร.อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทนอธิการบดี มทร.ล้านนา กล่าวรายงาน ซึ่งการจัดงานดังกล่าว เป็นความร่วมมือของเครือข่าย ประกอบด้วย สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมและการประดิษฐ์ไทยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น มหาวิทยาลัยพายัพมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สมาคมการค้าผู้ประกอบการผลิตเครื่องจักรชิ้นส่วนโลหะและอุตสาหกรรมสนับสนุนไทยสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สมาคมสำนักงานสอบบัญชีไทย สมาคมนักบัญชีไทย สมาคมการค้าธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ภาคเหนือ และ
นักวิชาการ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมกว่า 350 คน
ทั้งนี้ภายในงาน CRCi 2024 มีพิธีลงนามความร่วมมือเครือข่ายวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยและเครือข่าย 18 หน่วยงาน ระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล้านนา 7 สมาคม 1 สมาพันธ์ และ 9 มหาวิทยาลัยเครือข่าย พร้อมบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย” โดย ศาสตรจารย์ ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ กรรมการในคณะอนุกรรมการการอุดมศึกษาด้านการวิจัย ด้านนโยบายและแผนด้านพลิกโฉมมหาวิทยาลัย สป.อว.และ
การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การนำนวัตกรรม ผนวกกับเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจและทิศทางของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต” โดย คุณวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกับการขับเคลื่อน Appropriate Technology เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ” โดย ผศ.ดร. อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มทร.
ศรีวิชัย
การนำเสนอเสนอบูธเครือข่าย หัวข้อ “งานวิจัยนวัตกรรม และเทคโนโลยีพร้อมใช้” จัดแสดงนิทรรศการ Innovation Expo Show & Share บูธให้คำปรึกษาเรื่องการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา โดย ทีมงานสำนักงานบริหารทรัพย์สินฯ และกลุ่มงานส่งเสริมงานวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ สถาบันวิจัยและพัฒนา บูธแสดงสินค้า ผลงานวิจัยเด่น และเทคโนโลยีพร้อมใช้การนำเสนอผลงาน กว่า 184 ผลงาน ทั้งภาคบรรยาย และภาคโปสเตอร์ 8 กลุ่มสาขา ดังนี้
1) วิศวกรรมพลังงานและเทคโนโลยี
2) วิทยาศาสตร์ กายภาพ สุขภาพ และชีวภาพ
3) เทคโนโลยีเกษตร และอาหาร
4) บริหารธุรกิจ และศิลปศาสตร์
5) ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมศาสตร์
6) งานวิจัยรับใช้สังคม งานวิจัยนวัตกรรมชุมชน
7) งานประจำสู่งานวิจัย
8) งานวิจัยด้านการศึกษา
รวมถึง การประกวดสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ผลงานสร้างสรรค์ จากผู้เข้าร่วมการประกวดจากระดับอุดมศึกษาและระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา 20 ผลงาน และการจัดแสดงนิทรรศการเปิดบ้านงานวิจัยราชมงคลล้านนา และนิทรรศการงานวิจัยจากหน่วยงานเครือข่าย
//////////
Discussion about this post