
จากกรณีที่ชาวบ้านตำบลนาพูนอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ประสบปัญหาเรื่องกรณีที่ดินพื้นที่ทับซ้อนซึ่งชาวบ้านรอมานานกว่า 18 ปี และที่ผ่านมามีการเคลื่อนไหวติดตามอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ได้รับการแก้ไขจากรัฐบาลใดๆทั้งสิ้น และก่อนหน้านี้ นายวิเชียร สมฤทธิ์ นายกเทศมนตรีตำบลนาพูนพร้อมคณะได้เข้ายื่นหนังสือต่อส่วนราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ศูนย์บริการประชาชน และมีความคืบหน้าไปมากแล้ว ที่ทำให้ชาวบ้านฯ เห็นทางสว่าง เพียงรอคำสั่งจาก”นายกเชษฐา” เพียงเท่านั้น
และเมื่อเวลา 09.00 น วันที่ 13 สิงหาคม 2567 ทางผู้สื่อข่าวได้เข้าพบ นายวิเชียร สมฤทธิ์ นายกเทศมนตรีตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้นจังหวัดแพร่ สอบถามถึงความคืบหน้ากรณีดังกล่าวและได้ความว่า ล่าสุดได้รับหนังสือ ความคืบหน้า เรื่องการแก้ไขปัญหาที่ดินทับซ้อน พี่น้องชาวบ้านตำบลนาพูนฯ ซึ่งพี่น้องเรารอเรื่องนี้มากว่า 18 ปี และล่าสุดได้รับหนังสือจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ศูนย์บริการประชาชน ซึ่งมีข้อความดังนี้
” ส่วนราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ศูนย์บริการประ
ชาชน โทร. 02283 1286 และ 0878788174 ที่ นร 0105.4/6971 วันที่ 5 สิงหาคม 2567เรื่อง การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎร ในพื้นที่ตำบลนาพุน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ กราบเรียน นายกรัฐมนตรี ผ่าน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจักรพงษ์ แสงมณี) และ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายสมคิด เชื้อคง) 1.ประเด็นเพื่อโปรดทราบ
แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎรในพื้นที่ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และพิจารณามอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ดำเนินการตามแนว
ทางการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎรในพื้นที่ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 2. เรื่องเดิม เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 นายวิเชียร สมฤทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาพูนและคณะได้เดินทางมายื่นหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี ณ จุดบริการประชาชน 1111 ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขอให้พิจารณาแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎรในพื้นที่ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้งชิ้น จังหวัดแพร่ โดยผู้ร้องแจ้งว่า ราษฎรได้ตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ดังกล่าวมาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2473 ต่อมาได้มีการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติในท้องที่ตำบล
วังชิ้น ตำบลแม่ป้าก และตำบลนาพูน เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ยมตะวันออกโดยได้ประกาศทับพื้นที่ของเอกชนที่มีสิทธิครอบครองอยู่ ทำให้ราษฎรในตำบลนาพูน จำนวน 2,928 ครัวเรือน 7,525 ราย ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน โดยมีข้อเรียกร้อง ดังนี้ 2.1. ขอให้ปรับปรุงเขตปฏิรูปที่ดิน และแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าแม่ยมฝั่งตะวันออก)อ้างอิงตามแผนที่ พ.ศ. 2488 ในท้องที่บ้านแม่แปง บ้านนาพูน และทั้งตำบล ตามหลักฐานการตั้งถิ่นฐาน และแผนที่ท้ายประกาศ พ.ศ. 2488 2.2.ขอให้ยกเลิกแนวเขตประกาศป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าแม่ยมฝั่งตะวันออก) ในท้องที่บ้านแม่แปง บ้านนาพูน และบ้านนาพูนพัฒนา ตามแนวเขตประกาศป่าคุ้มครอง พ.ศ.2488 2.3.ขอให้ปรับแก้ซ่อมแชมแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าแม่ยมฝั่งตะวันออก) ป่าบ่อแก้ว ป่าแม่สูง ป่าแม่สิน ข้างละ 200 เมตร ตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 361 พ.ศ. 2511 2.4. ขอให้ปรับแก้แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าแม่ยมฝั่งตะวันออก)ในพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านไร่หลวงตามหลักฐานการอยู่อาศัยซึ่งปรากฏตามแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ พ.ศ. 2495 3.การดำเนินการ 3.1.สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ประสานส่งเรื่องให้กรมป่าไม้เพื่อพิจารณารวมทั้งแจ้งการดำเนินการให้ผู้ร้องทราบแล้ว เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 3.2.เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (เดิม) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายสมคิด เชื้อคง) มอบหมายให้ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี (นายชลธิศ สุรัสวดี) เป็นประธานการประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎรในพื้นที่ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ โดยมีประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายนนทภูมิ ตั้งปณิธานนท์) ผู้เชี่ยวชาญด้านมวลชน ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นายพันศักดิ์ เจริญ) และผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (นายสุริยน พัชรครุกานนท์) ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย(นายยงยุทธ ชื้นประเสริฐ) ผู้อำนวยการส่วนกำหนดเขตที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้(นายฉัตรพงศ์ สมหมาย) ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลแผนที่รูปแปลงที่ดิน กรมที่ดิน
(นางชุติมา ศูนยะคณิต) รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (นายสุรชัย ยุทธชนะ) และผู้แทนจังหวัดแพร่ เข้าร่วมประชุมหารือโดยที่ประชุมได้รับทราบข้อมูลความเป็นมาและการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อเรียกร้องของราษฎร ผลการประชุมสรุปได้ ดังนี้ 3.1.1.รับทราบข้อมูล ข้อเท็จจริง และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎรในพื้นที่ตำบล
นาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
3.2.2.เห็นชอบให้มีการลงพื้นที่ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ระหว่างวันที่ 17-18 กรกฎาคม 2567 เพื่อตรวจสอบสภาพพื้นที่และรับฟังข้อเสนอเพิ่มเติมจากราษฎร สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป 3.2.3.เห็นชอบให้ขอความอนุเคราะห์กรมที่ดิน สนับสนุนข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศที่แสดงสภาพพื้นที่ปัจจุบันของตำบลนาพูน บริเวณที่กันออก (บางส่วน) จากการประกาศเขตป่าคุ้มครอง ซึ่งมีสภาพการทำประโยชน์ลอดคล้องกับภาพถ่ายทางอากาศช่วงปี พ.ศ. 2495-2499 ในลักษณะพื้นที่นำร่องบริเวณบ้านแม่แปง บ้านนาพูน ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
- ข้อเท็จจริงระหว่างวันที่ 17-18 -กรกฎาคม 2567 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
(นายสมคิด เชื้อคง) ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี (นายชลธิศ สุรัสวดี) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ (นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล) รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นายมงคลชัย สมอุดร) ผู้เชี่ยวชาญด้านมวลชนศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลแผนที่รูปแปลงที่ดิน กรมที่ดิน (นางชุติมา ศูนยะคณิต) ผู้อำนวยการกลุ่มแก้ไขปัญหาที่ดิน สำนักงานักงานการปฏิ
รูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (นายภูริปัญญา เกิดศรี) ผู้อำนวยการกลุ่มประสานการแก้ไขปัญหาที่ดินของรัฐสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (นางยุพา คำมา) ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการและแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ที่ดินและทรัพยากรดิน สำนักงานคณะกรรม
การนโยบายที่ดินแห่งชาติ (นางสาวภทรกช เหนือเกตุ) ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่ (นายปรีชา โตมี) ผู้อำนวยการสำนักจัดจัดการ
ทรัพยากรบำไม้ที่ 3 สาขาแพร่ (นายสงคราม ขาวสะอาด) ผู้อำนวยการส่วนจัดการที่ดินป้าไม้ กรมป้าไม้
(นายมานะ จิตฤทธิ์) หัวหน้าฝ่ายกำหนดเขตการใช้ที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ (นายชัยสิทธิ์ ชุ่มเย็น) เจ้าพนัก
งานที่ดินจังหวัดแพร่ (นายสมเกียรติ สุขพรสวรรค์) เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดแพร่ สาขาวังชิ้น (นางสาวสุธาศิณี เชิดชำนาญ) นายอำเภอวังชิ้น (นายปานศร ภมรคนธ์) ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดแพร่ (นายธารณ์ ธรรมิกนนท์)
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ (นายอนุวัธ วงศ์ววรณ) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาพูน (นายวิเชียร สมฤทธิ์) และเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางลงพื้นที่ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เพื่อดูสภาพจริงในพื้นที่ รับฟังข้อมูลจากประชาชน และประชุมหารือเพื่อหาแนวทางในการ
แก้ไขปัญหา รวมทั้งชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ โดย
คณะได้ลงพื้นที่ 2 แห่ง ประกอบด้วย วัดแม่แปงและวัดนาพูน ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นที่ปรากฎในชอบเขตแสดงพื้นที่เอกชนครอบครองตามแผนที่แบบท้ายประกาศพระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2488 โดยพื้นที่ทั้ง 2 แห่งมีความสำคัญต่อการกำหนดตำแหน่งในการหารหาขนาดของพื้นที่ ที่แสดงขอบเขตไว้ ทั้งนี้ กรมที่ดินได้นำอากาศยานไร้คนขับพร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่มาปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม 2567:รวมระยะเวลา 20 วัน เพื่อนำภาพถ่ายทางอากาศที่ได้ไปเปรียบเทียบกับแผนที่ภูมิประเทศ L708 และระหว่างการลงพื้นที่ได้สอบถามข้อมูลจากราษฎรในพื้นที่ ได้ข้อมูลว่าเติบโตและทำมาหากิน
บนผืนแผ่นดินนี้ ได้เห็นวัดนาพูนมาตั้งแต่เกิด บรรพบุรุษได้ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินบนพื้นที่นี้มาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีเอกสารสิทธิในรูปแบบปฏิรูปที่ดิน ซึ่งมีข้อจำกัดในการประกอบอาชีพหากได้รับความช่วยเหลือเป็นที่ดินจะเกิดประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง
จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่และประชุมหารือร่วมกันได้ข้อสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้
4.1.จากข้อมูลเอกสารหลักฐานของทางราชการประกอบกับการลงพื้นที่ดูสภาพพื้นที่จริง พบว่า หมู่บ้านแม่แปง หมู่บ้านนาพูน และหมู่บ้านนาพูนพัฒนา พื้นที่กว่า 25,000ไร่ มีร่องรอยของการตั้งถิ่นฐานการตั้งวัด มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2488 และ ปี พ.ศ. 2458 ตามลำดับ และในแผนที่แสดงเขตป่าคุ้มครองท้ายประกาศ
พระราชกฤษฎีกา กำหนดป้าแม่ยมฝั่งตะวันออก พ.ศ.ศ. 2488 หมายเหตุว่าบ้านแม่แปงและบ้านนาพูน เป็นที่ดินของเอกชนมีสิทธิครอบครองอยู่ และต่อมามีการประกาศป่าสงวนแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2510 ทับซ้อนบริเวณพื้นที่เอกชนมีสิทธิครอบครองดังกล่าว และปี พ.ศ.ศ. 2542ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงต้องมีการตรวจสอบการครอบครองว่าเป็นไปตามที่ปรากฎหรือไม่ 4.2.คณะได้ร่วมกันพิจารณาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว ด้วยการปรับรูปแบบการดำเนินการจากเดิมราษฎรต้องขอพิสูจน์สิทธิรายแปลงเป็นรัฐบูรณาการการพิสูจน์พื้นที่ในภาพรวม โดยใช้ข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ปรากฎในภาพถ่ายทางอากาศ (พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2499 ) และแผนที่ภูมิประเทศ L708 ซึ่งเป็นกระบวนการที่สามารถตรวจสอบร่องรอยการทำประโยชน์ในเบื้องต้นได้ประกอบกับข้อมูล
รัฐศาสตร์เกี่ยวกับประวัติการตั้งถิ่นฐาน การตั้งวัด และสิ่งบ่งชี้ทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ เพื่อให้ราษฎรได้รับสิทธิในที่ดินที่พึงมีตามกฎหมาย 4.3.กรณีที่ที่ดินทำกินของราษฎรถูกประกาศเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 2,065 แปลง นั้นหากได้รับการพิสูจน์การครอบครองตามข้อ 3.1.แล้ว ก็ควรจะได้รับการเพิกถอนแนวเขตปฏิรูปที่ดินด้วย 5.ข้อพิจารณาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้ปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับที่ดิน
ทำกินและที่อยู่อาศัยของราษฎรในพื้นที่ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นปัญหาที่มี
มาอย่างยาวนาน ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับ
นโยบายรัฐบาลด้านการจัดให้มีมาตรการกระจายการถือครองที่ดิน เพื่อให้ประชาชนสามารถมีที่ดินทำกินได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้ง ลดความเหลื่อมล้ำ และดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรี ตามที่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 ดังนั้น กรณีนี้จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาในระดับนโยบาย ในชั้นนี้ จึงเห็นควรนำกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณามอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ นำรูปแบบการดำเนินการโดยรัฐบูรณาการการพิสูจน์พื้นที่ในภาพรวม โดยใช้ข้อมูลวิทยา
ศาสตร์ที่ปรากฏในภาพถ่ายอากาศ
(พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2498) และแผนที่ภูมิประเทศ L708 ซึ่งเป็นกระบวนการที่สามร่องรอยการทำประโยชน์ในเบื้องต้นได้ ประกอบกับกับข้อมูลรัฐศาสตร์เกี่ยวกับประวัติการตั้งถิ่นฐาน การตั้งวัดและสิ่งบ่งชี้ทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ เพื่อให้ราษฎรได้รับสิทธิในที่ดินที่พึงมีตามกฎหมายมาใช้ในพื้นที่จังหวัดแพร่ไปปรับปรุงมาตรการการแก้ไขปัญหากระจายการถือครองที่ดินในระดับชุมชนให้สอดคล้องกับกฎหมาย
Discussion about this post