เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 นางสาวอัญชลี ปัญญากวาว เกษตรจังหวัดแพร่ กล่าวว่า ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ ร่วมกับ สำนักงานเกษตรอำเภอ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ออกติดตามสถานการณ์น้ำ (คำสั่งเฉพาะกิจฯ) พบว่า 1.อำเภอเมือง น้ำได้ล้นตลิ่ง(Y.1C) ท่วมพื้นที่การเกษตร ได้รับผลกระทบ 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน คือ 2.อำเภอเมืองแพร่ ที่ตำบลแม่ยม และตำบลท่าข้าม คาดการณ์พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย(ข้าวโพดฯ) จำนวน 40 ไร่ 2.อำเภอสอง น้ำล้นตลิ่ง (Y.20) ท่วมพื้นที่การ เกษตรได้รับผลกระทบ 3 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลบ้านกลาง ตำบลบ้านหนุน และตำบลห้วยหม้าย คาดการณ์พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย(ข้าวโพดฯ) จำนวน 90 ไร่

“พร้อมกันนี้ ได้แจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมให้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้แม่น้ำยมให้เตรียมขนย้ายทรัพย์สินทันทีที่ได้รับการแจ้งเตือน และให้เตรียม เครื่องสูบน้ำ การเปิดทางระบายน้ำในพื้นที่การเกษตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัย ได้ประสานอำเภอและจังหวัดในการแจ้งเหตุประสบภัยพื้นที่การเกษตร(คชภ.1) โดยการประสาน ชลประทานจังหวัดแพร่ และท้องถิ่นร่วมสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมเข้าช่วยเหลือทันที
ในส่วนเกษตรเมืองแพร่ ได้ติดตามสถานการณ์แม่น้ำยม ในพื้นที่ตำบลท่าข้าม ตำบลวังหงส์ ตำบลแม่ยม ตำบลวังธง โดยมี นางจรรฎา ดีปาละ เกษตรอำเภอเมืองแพร่ และ นางสาวธัญชนก กาศสกุล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองแพร่ พร้อมด้วย นางอุมาวลี ใจเอื้อ หัวหน้าส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร หัวหน้าคณะทำงานเฉพาะกิจ บริหารจัดการภัยพิบัติในช่วงฤดูฝน ปี 2567 พร้อมด้วยคณะทำงานจากทุกกลุ่มฝ่าย ติดตามสถานการณ์แม่น้ำยม ในพื้นที่ตำบลท่าข้าม ตำบลวังหงส์ ตำบลแม่ยม ตำบลวังธง
ผลจากการลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่า พื้นที่การเกษตรบริเวณริมแม่น้ำยม เริ่มมีน้ำท่วมขัง ทั้งนี้ได้แจ้งให้เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวเฝ้าระวังระดับอย่างใกล้ชิดแล้ว
ธีรพงษ์ ธงออน/แพร่
Discussion about this post