วันที่ 5 กันยายน 2567 AIS ร่วมกับ ETDA และกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และภาคีเครือข่าย สร้างภูมิคุ้มกันรับมือปัญหาภัยไซเบอร์ ในกิจกรรมเสวนา “โครงการสร้างภูมิคนไทยรู้ทันปัญหาออนไลน์1212 ETDA” ตอกย้ำเจตนารมณ์การทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ พร้อมส่งต่อทักษะความฉลาดทางดิจิทัล “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์”, เครื่องมือเช็กภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์แบบรายบุคคล หรือ Digital Health Check, เครื่องมือป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยบริการ AIS Secure Net เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถใช้งานสื่อออนไลน์ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสร้างสรรค์ อันจะนำมาสู่การยกระดับสุขภาวะดิจิทัลให้กับคนไทยให้รู้เท่าทันทุกภัยไซเบอร์
นายอาทยา หยู่เย็น หัวหน้างานปฏิบัติการภูมิภาค – ภาคเหนือ AIS กล่าวว่า ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของคนไทย การป้องกันภัยไซเบอร์กลายเป็นประเด็นที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ทำให้การทำงานของ AIS ในฐานะผู้นำด้านบริการดิจิทัลที่มุ่งส่งเสริมการใช้งานออนไลน์ที่ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัยยิ่งทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ทั้งในมุมของการสร้างภูมิปัญญาหรือ Wisdom ที่จะนำไปสู่การสร้างพลเมืองดิจิทัลที่มีความรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ และในมุมของการใช้ขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีมาส่งมอบเครื่องมือปกป้องภัยไซเบอร์และมิจฉาชีพที่แฝงมากับการใช้งานออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ สร้างสังคมดิจิทัลให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ได้แก่
การสร้างองค์ความรู้ (Wisdom) ผ่านหลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” โดย AIS ได้ร่วมมือกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และภาคีเครือข่ายทั้งกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ส่งต่อทักษะความฉลาดทางดิจิทัล “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” มุ่งเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ที่ครอบคลุมทุกทักษะในโลกดิจิทัลอย่างแท้จริง พร้อมส่งต่อไปยังประชาชนคนไทยทุกช่วงวัยที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของกระทรวงฯ ได้เสริมทักษะดิจิทัล รู้เท่าทันภัยไซเบอร์
การพัฒนาเครื่องมือปกป้องการใช้ งานทำให้วันนี้เราพัฒนาเครื่องมือ “Digital Health Check” เพื่อให้คนไทยสามารถวิเคราะห์และประเมินทักษะด้านดิจิทัลของตนเอง พร้อมทั้งแนะนำช่องทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ในการป้องกันภัยไซเบอร์ให้แก่ลูกค้าและคนไทย
การนำเทคโนโลยี (Technology) มาพัฒนาเพื่อสร้างเครื่องมือในรูปแบบของบริการดิจิทัลที่ช่วยป้องกันภัยไซเบอร์ อาทิ AIS Secure Net, Google Family Link และสายด่วนโทร.ฟรี 1185 – AIS Spam Report Center ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเบอร์โทร.และ SMS มิจฉาชีพ ตลอด 24 ชั่วโมง
“AIS ยังคงมุ่งมั่นในการเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลของคนไทย พร้อมเดินหน้าพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้คนไทยสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย รวมถึงการสนับสนุนภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาภัยไซเบอร์จากกลุ่มมิจฉาชีพที่แฝงมากับการใช้งาน ทั้งมาตรการยืนยันตัวตน การควบคุมสัญญาณบริเวณรอยต่อชายแดน หรือ การสนับสนุนการทำงานของพี่ๆตำรวจโดยทีมวิศวกร ทั้งหมดเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ AIS เพื่อให้ภัยไซเบอร์หมดไปจากประเทศไทยอย่างยั่งยืน” นายอาทยา กล่าวทิ้งท้าย.
Discussion about this post