วันที่ 7 พย.67 ณ ห้องประชุมโรงแรมเวโรน่า บูทีค โฮเทล อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี นายชนาธิป โคกมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 โครงการศึกษาแผนการพัฒนาแหล่งน้ำและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในลุ่มน้ำลำพระยาธารจังหวัดปราจีนบุรี กรมชลประทาน ได้ศึกษาความเหมาะสมและจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการอ่างเก็บน้ำลำพยาธาร จังหวัดปราจีนบุรี โดยสรุปว่า ควรพัฒนาเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 2 โครงการ ได้แก่อ่างเก็บน้ำลำพระยาธาร (ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่) และอ่างเก็บน้ำคลองวังมืด (ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติทับลาน) กรมชลประทาน จึงเห็นควรให้มีการศึกษาแผนการพัฒนาแหล่งน้ำและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในลุ่มน้ำลำพระยาธาร ตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่กำหนดเพื่อการศึกษารูปแบบ แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม และประเมินผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีน้อยที่สุดหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษา การศึกษาโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาดังนี้
เพื่อการศึกษาจากทำแผนพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัยในลุ่มน้ำหนุมานจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อศึกษาความเหมาะสม ของโครงการที่จะให้ประสิทธิผลตามมาตรการการบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำและอุทกภัยการศึกษาแผนการพัฒนาน้ำในลุ่มน้ำ เพื่อศึกษาและจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดำเนินงานประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของประชาชนและของทุกภาคส่วนเพื่อให้แสดงความคิดเห็นว่ากรมชลประทานมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาด้านบรรเทาอุทกภัยและการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ให้แก่ราษฎรอย่างโปร่งใส วัตถุประสงค์ของโครงการประกอบด้วย เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับเกษตรกรรม เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภคของราษฎรในพื้นที่โครงการและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อบรรเทาสภาพน้ำหลากในฤดูฝน เพื่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศวิทยาทางน้ำ เพื่อการบริหารการจัดการลุ่มน้ำให้มีประสิทธิภาพ
สภาพปัญหาในพื้นที่ลุ่มน้ำลำพระญาธาร ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาไฟป่าในพื้นที่ตำบลบุพราหมณ์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่โครงการเกิดปัญหาไฟป่าในช่วงฤดูแล้ง เพราะพื้นที่ขาดความชุ่มชื้น และขาดน้ำในการดับไฟป่า เช่นเหตุการณ์วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 ไม่มีแหล่งน้ำสำหรับสัตว์และพืช ทำให้สัตว์ป่าลงมาหาอาหารและแหล่งน้ำในพื้นที่ชุมชนซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่ป่าบ่อยครั้ง ขาดแคลนน้ำสำหรับใช้การเกษตร ปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอช่วงฝนทิ้งช่วงในฤดูฝน เกษตรกรส่วนใหญ่มีรายได้น้อย เนื่องจากขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ประชาชนในพื้นที่ย้ายถิ่นฐานเพื่อไปประกอบอาชีพอื่นๆ เนื่องจากอาชีพเกษตรกรมีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพและครอบครัว ปัญหาน้ำหลาก ช่วงฤดูฝน เมื่อมีปริมาณฝนตกต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาน้ำไหลล้นตลิ่งและไหลหลากเข้าพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตร ในอำเภอนาดี เช่นเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ 2563 เนื่องจากฝนตกบริเวณต้นน้ำของคลองวังมืด มีน้ำหลากเกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชน
นายสุชาติ มาลาศรี ผอ.สำนักบริหารโครงการ กล่าวว่าการทำอ่างเก็บน้ำเพื่อกักเก็บน้ำซึ่งจะทำได้น่าจะไม่เกินอยู่ในระดับอัตราขนาดเล็กเท่านั้น เพราะว่าด้วยความที่จะต้องใช้พื้นที่จำกัดประหยัดที่สุด ให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรผู้ใช้น้ำอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ อาจจะเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนบ้างบางอย่าง ตอนนี้พบว่าสิ่งที่จะต้องทำที่จะเป็นไปได้น่าจะมี 2 ส่วน ในเบื้องต้นจัดความสำคัญอันดับแรกคืออ่างเก็บน้ำคลองวังมืด อันดับที่ 2 อ่างเก็บน้ำห้วยชัน ความจุประมาณ 15 ถึง 20 ล้านลบ.ม พื้นที่รับผลประโยชน์รวมกันประมาณ 30 ไร่
ขณะเดียวกัน นายสุนทรคมคาย ประธานเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.)อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ได้มายื่นหนังสือคัดค้านโครงการดังกล่าว ในวันนี้ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเวทีด้วย แต่ไม่เห็นด้วยจึงมายื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อแสดงเจตนารมณ์ไม่เห็นด้วยกับการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในวันนี้ของทางกรมชลประทาน เนื่องจากก่อนหน้านี้ในปีพ.ศ.2565 มีมติคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 44 ทางคณะกรรมการมรดกโลก ได้มีมติให้ระงับหรือยกเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำในเขตมรดกโลก จนกว่าจะมีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) พื้นที่ลุ่มน้ำและแหล่งมรดกโลกป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ให้แล้วเสร็จ
Discussion about this post