วันที่ 17 กันยายน 2564) ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.เครือข่าย) ตำบลศรีสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์การนำระบบส่งเสริมการเกษตร ขับเคลื่อนงานในพื้นที่ ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายงานส่งเสริมการเกษตร (T&V System) ขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตร ในพื้นที่จังหวัดนครพนม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อเพิ่มทักษะและความรู้ในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมการเกษตรในพื้นที่ ในรูปแบบสื่อ Social media อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายในการประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมการเกษตร เกิดการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้กับกลุ่มเกษตรกรและองค์กร ซึ่งมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอ จำนวน 12 อำเภอ จำนวน 26 ราย เข้าร่วมการจัดเวทีฯ ในครั้งนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การส่งเสริมการเกษตรแบบมีส่วนร่วมกับพื้นที่ เข้าใจและเกิดทักษะในการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรในแต่ละพื้นที่ โดยใช้ระบบส่งเสริมการเกษตรเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาภาคการเกษตรให้เกิดผลสำเร็จ โดยนางสาวกัญณฐา อภินนท์ธนา เกษตรจังหวัดนครพนม มอบหมายให้นายอุดร ไพศาล หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ เป็นประธานเปิดกิจกรรมในครั้งนี้
นางสาวกัญณฐา อภินนท์ธนา เกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม ใช้ระบบส่งเสริมการเกษตรเป็นหลักในการดำเนินงาน คือ ระบบการฝึกอบรม และเยี่ยมเยียน (Training and Visit System : T & V System) ซึ่งจะมีการพัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับต่าง ๆ ผ่านเวทีตามระบบส่งเสริมการเกษตร การดำเนินงานในพื้นที่ โดยใช้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเกษตร และใช้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบกต.) เป็นกลไกในการขับเคลื่อน รวมทั้งการใช้เครือข่ายในการดำเนินการ เช่น อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ฯลฯ และการสร้างเครือข่ายการประสานงานและบูรณาการกับหน่วยงานวิจัย ทั้งการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งเสริมการเกษตร และนำผลงานวิจัยการเกษตรขยายผลให้แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกร
นางสาวกัญณฐา อภินนท์ธนา เกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารการเกษตรแพร่กระจายไปสู่เกษตรกร โดยมีสื่อบุคคล (นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร) สื่อกิจกรรม (นิทรรศการ การสาธิต การประกวด และ สื่อมวลชน (หนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์) เป็นตัวเร่งให้เกิดการแพร่กระจายข่าวสารไปสู่เกษตรกรอย่างรวดเร็ว ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ส่งผลให้เกษตรกรเป้าหมายเกิดความเชื่อถือ ศรัทธา และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างยั่งยืนร่วมกัน การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในงานส่งเสริมการเกษตรข้อมูลข่าวสารจะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการวิเคราะห์ปัญหา วางแผน และการตัดสินใจต่อการพัฒนาการเกษตรของเกษตรกรนอกเหนือจากการถ่ายทอดความรู้โดยตรงผ่านการฝึกอบรม เยี่ยมเยียนเกษตรกร ยังต้องอาศัยการให้บริการข้อมูลข่าวสารและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ที่ถูกต้องเหมาะสมตามต้องการของเกษตรกรผ่านสื่อต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ เป็นการขยายโอกาสในการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผ่านระบบส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ได้อย่างประสบความสำเร็จ
ด้านนายอุดร ไพศาล หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้ ยังได้มีการพูดคุยร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถึงแนวทางการพัฒนาและยกระดับการทำการเกษตรในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ จากนางสวาด วงค์โสภา ประธาน ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.เครือข่าย) ตำบลศรีสงคราม และร่วมพูดคุยถึงประเด็น การเกษตรยุคใหม่ กับการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเกษตรให้เกิดผลสำเร็จ รวมทั้งการทำเกษตรผสมผสาน สร้างโอกาส เปลี่ยนชีวิต สู่การเกษตรที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกรอย่างไร จากนายยงยุทธ วงค์โสภา เกษตรกรต้นแบบ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.เครือข่าย) ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองด้านการเกษตรในยุค New Normal ที่ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเอง หรือเกษตรกร จะต้องมีการปรับตัวและร่วมกันพัฒนาภาคการเกษตรให้เข้มแข็งได้อย่างมั่นคงแบบมีส่วนร่วมในการ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ในการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ร่วมกัน.
Discussion about this post