
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 26 ตุลาคม 2564 พล.ต.ท.สมประสงค์ เย็นท้วม ผบช.ภ.3 ร้องด้วย พล.ต.ต.ภาณุ บุรณศิริรอง ผบช.ภ.3 พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผบก.ภ. จว.นครราชสีมา พล.ต.ต.ชูสวัสดิ์ จันทร์โรจนกิจ ผบก.สส.ภ.3 พ.ต.อ.สุริยา นาคแก้ว รอง ผบก.ฯ ปรก.รอง ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา
พ.ต.อ.ถิรเดช จันทร์ลาด ผกก.สืบสวน ภ.จว.นครราชสีมา พ.ต.อ.สุกาญจน์ นิลอ่อนผกก. สืบสวน 3 บก.สส.ภ.3 พ.ต.อ. สิทธิชัย ธัญญาบาล ผกก.สืบสวน 2 บก.สส.ภ.3 พ.ต.ท.พรเทพ ทุ้ยแป รอง ผกก.สืบสวนภ.จว.นคร ราชสีมา พ.ต.ท.มณฑล หงษ์กลาง รอง ผกก.สืบสวน ภ.จว.นครราช สีมา พ.ต.ท.แผน สวาสดิ์นา รอง ผกก.สืบสวน 2 บก.สส.ภ.3 พ.ต.ท.วิชานนท์ บ่อพิมาย สว.กก.สืบสวน ภ.จว. นครราชสีมา พ.ต.ต.สมพร ทองประดับ สว.กก.สืบสวน 3 บก.สส.ภ.3 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมแถลงข่าวจับกุมผู้ต้องหา แก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้ผู้ต้องหาชาวไทย 4 ราย ชาวกัมพูชาอีก 1 ราย ซึ่งเป็นไปตามนโยบายตามที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร./ผอ.ศปอส. ตร. ได้สั่งการไป
ยังตำรวจทุกหน่วยในสังกัดให้ปราบปรามจับกุมการกระทำความผิดคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีอย่างจริงจัง โดยกำหนดให้มีการระดมกวาดล้างอาชญากรรมตั้งแต่วันที่ 20 -31 ตุลาคม 2564 จนสามารถจับกุมผู้ต้องหาแก๊งนี้ได้ในที่สุด
ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุม ประกอบด้วย 1. นางสมศรี บุญเลี้ยง อายุ 61 ปี อยู่ที่ 33 หมู่ที่ 16 ต.โพธิ์งาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี (รับจ้างเปิดบัญชี) 2. นายคงเดช งามขำ อายุ 22 ปี อยู่ที่ 373/2 หมู่ 12 ต.หมอนนาง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี (รับจ้างเปิดบัญชี) 3. นางพรพมล สุขสมจิตต์ อายุ 41 ปี บ้านเลขที่ 27/1 ถ.ริมคลองสามเสน แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร (นายหน้าจัดหาคนเปิดบัญชี) 4.น.ส. เสาวลักษณ์ หล่อทอง อายุ 26 ปี ที่อยู่เลขที่ 11/1 ถ.บริเวณโรงเลื่อยและบ้านพัก ต.คลองลึก อ.อรัญ ประเทศ จ.สระแก้ว (คนจัดส่งบัญชีไปให้เครือข่ายที่ประเทศกัมพูชา)
คดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2564 ได้มี น.ส.เอ (นามสมมุติ) อายุ 39 ปี ผู้เสียหายมาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ.เมืองนครราชสีมา ให้ดำเนินคดีกับคนร้ายซึ่งโทรศัพท์มาหลอกลวงผู้เสียหายจนหลงเชื่อและโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ หมายเลขบัญชี 694-2-09257-5 ชื่อบัญชี นางสาวสมศรี บุญเลี้ยง จำนวน 218,470 บาท เป็นการกระทำในลักษณะของแก๊งคอลเซ็นเตอร์

โดยพฤติกรรมของแก๊งนี้จะโทรหา
ผู้เสียหาอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ขนส่ง DHL(สาขาเชียงใหม่) แล้วบอกกับผู้เสียหายว่ามีสินค้าจำพวก พาสปอร์ต บัตรเอทีเอ็ม และเสื้อผ้า ที่จะส่งไปยังประเทศจีนติดค้างอยู่ที่ด่านศุลกากรไม่สามารถส่งไปยังปลายทางได้คนร้ายได้สร้างความน่าเชื่อถือโดยการแนะนำว่าสามารถโอนสายเพื่อติดต่อแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ สภ.เมืองเชียงใหม่ ได้ เมื่อโอนสายไปคนร้ายอีกคน แนะนำตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยศ ร.ต.อ. เป็นร้อยเวรของ สภ.เมืองเชียงใหม่ โดยแนะนำให้แอดไลน์ของ สภ.เมืองเชียงใหม่ จากนั้นก็มีการพูดคุยกันผ่านไลน์ (ผู้เสียหายเชื่อว่าเป็นไลน์ของ สภ.เมืองเชียงใหม่จริง) คนร้ายได้สอบถามข้อมูลส่วนตัวของผู้เสียหาย และแจ้งว่าผู้เสียหายมีส่วนพัวพันกับคดีฟอกเงิน ซึ่งถ้าไม่อยากมีปัญหาจะให้ ปปง. ทำการตรวจสอบบัญชีของผู้เสียหาย จากนั้นคนร้ายจึงขอให้ผู้เสียหายแจ้งข้อมูลบัญชีทั้งหมดและยอดเงินในบัญชี ต่อมาคนร้ายได้ส่งต่อให้คุยกับคนร้ายอีกคน ซึ่งอ้างตัวเองว่าเป็น สารวัตร โดยมีการกล่าวอ้างเรื่องการตรวจสอบเส้นทางการเงิน และบอกว่าจะส่งบัญชีของผู้เสียหายให้ ปปง. ตรวจสอบเรื่องการฟอกเงิน จากนั้นคนร้ายให้ผู้เสียหายโอนเงินทุกบัญชีที่ผู้เสียหายมีไปยังธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่บัญชี 694-2-09257-5 ชื่อบัญชี นางสาวสมศรี บุญเลี้ยง เพื่อตรวจสอบว่าบัญชีตรงกันหรือไม่ ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่จริงและเพื่อยืนยันว่าตัวเองบริสุทธิ์ จึงได้ทำการโอนไปยังบัญชีดังกล่าว ต่อมาผู้เสียหายเกิดความสงสัยจึงโทรกลับไป ปรากฎว่าไม่สามารถติดต่อได้
โดยพฤติกรรมการโอนเงินคนร้ายจะหลอกให้เหยื่อ โอนเงินเข้ามาในบัญชีธนาคาร step1 มีการโอนเงินต่อไปยังบัญชีธนาคาร step2 และโอนต่อไปยังบัญชีธนาคาร step3 ซึ่งบัญชี step3 มีคนต่างด้าวเป็นเจ้าของบัญชีและอยู่ต่างประเทศโดยดำเนินการโอนเงินในระยะเวลาอันรวดเร็ว เพื่อให้ยากต่อการติดตามเส้นทางการเงินซึ่งพบว่าบัญชีที่คนต่างด้าวเป็นเจ้าของนั้น มีเงินหมุนเวียนกว่า 1,000 ล้านบาท นอกจากนี้จากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ยังมีผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงให้โอนเงินในลักษณะเดียวกันนี้อีก 4 รายอยู่ในพื้นที่ต่างๆทั้ง กทม. ชลบุรี และเชียงใหม่ มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 2.4 ล้านบาท
เบื้องต้นจึง แจ้งความ ดำเนินคดีในข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น และร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง”นำส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองนครราชสีมา ดำเนินคดีตามกฎหมาย.
Discussion about this post