วันที่ 20 เมษายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หมู่บ้านชาวเลอุลักลาโว้ย นับหลายร้อยครัวเรือนที่อาศัยอยู่บนเกาะหลีเป๊ะ หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 8 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล กระทบปัญหาค่าไฟฟ้าที่มีราคาสูงและแพงมาก และร้องผ่านสื่อเพื่อต้องการช่วยเหลือในการลดค่าใช่จ่าย ในยุคสภาวะเศษฐกิจในช่วงโควิด- 19 นี้ ซึ่งบนเกาะหลีเป๊ะ ชาวบ้าน และผู้ประกอบการต้องใช้ไฟฟ้าที่มีค่าหน่วยมิตเตอร์ สูงอยู่ที่หน่วยละ 25 บาท แม้ว่าในขณะนี้จะลดลงอยู่ที่หน่วยละ 20 บาท และอาทิตย์ที่ผ่านมา พึ่งลดมาอยู่ที่ 18 บาทต่อหน่วย ซึ่งก็ยังแพงอยู่เช่นกัน
ทางด้านชาวบ้าน นายสมเดช หาญทะเล 63 ปี 95 หมู่8 ชุมชนบ้านตูโป๊ะ ต.เกาะสาหร่าย จังหวัดสตูลพร้อมชาวเลอีกหลายๆครอบครัว กล่าวว่า ปัญหาที่หนักสุดบนเกาะหลีเป๊ะ คือ ค่าไฟฟ้าที่แพง หน่วยค่าไฟอยู่ที่ 25-20 -18 หน่วย/บาท เดือนๆหนึ่งจ่ายค่าไฟฟ้าครั้งละ 2000-3000 บาท ต่อเดือน พอไม่มีจ่ายก็จะถูกตัดไฟ เพราะโรงไฟฟ้าบนเกาะหลีเป๊ะแห่งนี้ เป็นของเอกชน ทำมานานแล้ว แต่ถ้าทางรัฐบาลช่วยให้เกาะหลีเป๊ะมีไฟฟ้าใช้เป็นของภาครัฐ จะดีมากเลย ซึ่งชาวบ้านกำลังรอคอยความหวังอยู่ (ชาวเลกล่าวไปใรทิศทางเดียวกัน )
ทั้งนี้นายทรงศัก สายเชื้อ ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะ พร้อมด้วยนายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่เดินสำรวจบริเวณโดยรอบเกาะหลีเป๊ะ เช่น จุดขึ้นสายเคเบิ้ลไฟฟ้าที่มีข้อพิพาท โรงงานกำจัดขยะ โรงงานผลิตไฟฟ้า บริเวณพื้นที่น้ำท่วมและหมู่บ้านชาวประมง โรงพยาบาลฯ และจุดอื่นๆ ที่สำคัญกับงานตามโครงการฯ เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงพร้อมติดตามการแก้ไขปัญหาระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการบริหารจัดการการท่องเที่ยวบนเกาะหลีเป๊ะ หลังประชาชนร้องเรียนขอความช่วยเหลือผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน
ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า การลง พื้นที่เกาะหลีเป๊ะในครั้งนี้ได้มีการประชุมหารือสรุปสภาพปัญหาในพื้นที่ร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในวันนี้ได้ลงพื้นที่ติดตามการแก้ ไขปัญหาของประชาชน โดยแบ่งเป็นประเด็นที่จะต้องดำเนินการเร่งด่วน 5 ประเด็นหลักได้แก่ 1. ปัญหาการบริหารจัดการขยะบนเกาะหลีเป๊ะ เน้นการสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ และหาสถานที่เก็บขยะที่เหมาะสม 2. ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้า เนื่องจากราคาค่าไฟฟ้าสูงกว่าปกติมาก โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษาความเหมาะสมและควาทเป็นไปได้ผ่านโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าให้พื้นที่เกาะต่าง ๆ (เกาะหลีเป๊ะ) ซึ่งใช้ระบบเคเบิลใต้น้ำน่าจะเหมาะสมที่สุด , 3. ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการบริโภคและอุปโภค เนื่องจากบนเกาะไม่มีแหล่งน้ำจืดทางธรรมชาติ และไม่มีระบบน้ำประปา โดยการประปาส่วนภูมิภาคสาขาสตูล ได้เตรียมสำรวจเส้นทางของร่องน้ำเพื่อไม่ให้กระทบกับแนวปะการัง ก่อนจะทำท่อส่งน้ำจากเกาะอาดัง 4. ปัญหาการสาธารณสุข ที่ยังมีเพียงโรงพยาบาลขนาดเล็ก ซึ่งจังหวัดสตูลได้รับการจัดสรรงบประมาณจากการประชุมครม.สัญจร ที่จังหวัดกระบี่เมื่อปลายปี 2564
เบื้องต้นจังหวัดต้องศึกษาความเป็นไปได้หาพื้นที่ใหม่ที่เหมาะสมเพื่อสร้างโรงพยาบาล หรือจัดตั้งเป็นศูนย์ราชการ มีสถานีตำรวจและหน่วยงานอื่นๆอยู่ในจุดเดียวกันเพื่ออำนวยความสะดวกมากกว่านี้ และ 5. การบริหารจัดการเพื่อการท่องเที่ยวบนเกาะหลีเป๊ะ โดยมีการพูดถึงการสร้างศูนย์บริการการท่องเที่ยวในระยะต่อไป แต่ในระยะสั้นให้ทางสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล จัดเจ้าหน้าที่ Lifeguard ลงมาเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวประจำชายหาด
ด้านนายทรงวุฒิ ขันดี ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า ขณะนี้ได้ลงมารับทราบปัญหา และเร่งไปสรุปทางที่หน่วยงานอีกครั้ง แต่ปัญหาที่ต้องเจอ คือจุดวางเคเบิ้ลใต้น้ำ หาที่วางลงใต้ทะเล สิ่งสำคัญ ใช้เวลาการสำรวจ เรื่องสิ่งแวดล้อม ว่าจะกระทบปะการังหรือไม่ รวมทั้งการวางพื้นที่ใต้น้ำของเคเบิ้ลใช้ความยาว 70 กว่ากิโลเมตร จากบนฝั่ง พาดลงไปยังถึงเกาะตะรุเตา และวางเคเบิ้ลไปที่เกาะอาดัง วางไปถึงเกาะหลีเป๊ะ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งติดอยู่อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตาดังนั้นจึงต้องลงสำรวจหาทาง ออก ส่วนความพร้อมทางการไฟฟ้าพร้อมที่จะช่วยเหลือประชาชนผู้เดือนร้อนเชนกัน.
สโรชา ยกชม / สตูล
Discussion about this post