ที่โรงแรมศรีลำดวน อ.เมือง จ.ศรีสะ เกษ นายจันทร์ โต๊ะสิงห์ ที่ปรึกษาหน่วยจัดการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.จังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียนการขยายผลชุดความรู้สุขภาวะ สสส. โดยมี ดร. ชญานิน กฤติยะโชติ หัวหน้าหน่วยจัดการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. จังหวัดศรีสะเกษ นำเครือข่ายให้การต้อนรับและร่วมประชุม
ดร.ชญานิน กล่าวว่า หน่วยจัดการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.จังหวัดศรีสะเกษ เป็นหน่วยจัดการนำร่องในระดับพื้นที่ จาก 1 ใน 6 จังหวัดทั่วประเทศ ได้นำชุดความรู้มาใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัด ประกอบด้วย จ.ศรีสะ เกษ จ.ยโสธร และจ.สุรินทร์ จำนวน 3 ชุดความรู้ ได้แก่ ชุดความรู้โภชนา การสมวัยในศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด อปท. จำนวน 7 แห่ง ชุดความรู้ความปลอดภัยทางถนนในชุมชน ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย คือ อปท. จำนวน 6 แห่ง และชุดความรู้ท้องถิ่นร่วมใจดูแลผู้สูงวัยในชุมชน ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย คือ อปท. จำนวน 7 แห่ง นอกจากนั้น หน่วยจัดการฯ ซึ่งเคยได้รับทุนเพื่อขยายผลมาแล้วในปี 2561-2563 จึงมีการขยายผลซ้ำในระดับนโยบาย ตามวาระจังหวัดศรีสะเกษ “365 วัน ศรีสะเกษขับขี่ปลอดภัย”
ซึ่งนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อเสนอโครงการฯ ของปี 2564-2565 ได้ขยายผลไปยังกลุ่มเป้าหมาย ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอ (ศปถ.อำเภอ) จำนวน 4 แห่ง เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้และนำไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ โดยมีระยะเวลา ดำเนินการตั้งแต่เดือนเม.ย. 61 จนถึงเดือน เม.ย. 65 เพื่อสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง หรือ CA จำนวน 3 ระดับ และนำไปขับเคลื่อนในองค์กรให้บรรลุผลลัพธ์เป็นรูปธรรมตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ผลลัพธ์การดำเนินงานชุดความรู้ “การจัดการความปลอดภัยทางถนนในชุมชน” พบว่า หน่วยงาน อปท. เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 6 แห่ง ได้นำความรู้ที่ได้รับไปสำรวจ ค้นหา และวิเคราะห์จุดเสี่ยง และจัดการจุดเสี่ยงตามแนวทางที่ชุดความรู้กำหนดไว้ เกิดผู้นำการเปลี่ยน แปลง หรือ CA ระดับ 1 จำนวน 22 คน CA ระดับ 2 จำนวน 5 แห่ง และ CA ระดับ 3 จำนวน 5 แห่ง ส่วนพื้นที่ขยายผลตามวาระจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 4 อำเภอ อปท. จำนวน 54 แห่ง เกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลง หรือ CA ระดับ 1 จำนวน 178 คน CA ระดับ 2 จำนวน 4 แห่ง และ CA ระดับ 3 จำนวน 2 แห่ง
ส่วนผลลัพธ์การดำเนินงานชุดความรู้ “โภชนาการสมวัยในศูนย์เด็กเล็ก” พบว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด อปท. และเอกชน จำนวน 7 แห่ง ได้นำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ในการจัดการภาวะโภชนาการของนักเรียน และขับเคลื่อนในหน่วยงาน เกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลง หรือ CA ระดับ 1 จำนวน 22 คน CA ระดับ 2 จำนวน 5 แห่ง และ CA ระดับ 3 จำนวน 2 แห่ง
และผลลัพธ์การดำเนินงานชุดความรู้ “ท้องถิ่นร่วมใจดูแลผู้สูงวัยในชุมชน” พบว่า อปท. จำนวน 7 แห่ง ได้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการจัดการสุขภาวะของผู้สูงอายุและขับเคลื่อนในหน่วยงาน เกิดผู้นำการเปลี่ยน แปลง หรือ CA ระดับ 1 จำนวน 23 คน CA ระดับ 2 จำนวน 3 แห่ง และ CA ระตับ 3 จำนวน 1 แห่ง อีกด้วย.
Discussion about this post