วันที่ 16 กันยายน 2565 ที่พิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนัก หมู่ 2 ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ นายพรพล เอกอรรถพร รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย หรือ sacit เผยถึงการจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร (Press Tour) ครั้งที่ 2 เรียนรู้หัตถศิลป์ภูมิปัญญาชาวล้านนา ว่า มีเป้าหมาย เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูหัตถกรรมงานศิลป์ พร้อมสืบทอดงานศิลปหัตถกรรมไทยพื้นบ้าน และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นสุ่คนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ซึ่งพิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนัก ถือเป็นต้นแบบ หรือโมเดล ที่ต่อยอดและขยายผลไปสู่ชุมชนเยาวชน สถาบันการศึกษา องค์กรเครือข่าย โดยมีครูเพชร วิริยะ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2564 เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าว
“แนวทางฟื้นฟูและอนุรักษ์หัตถกรรมงานศิลป์ คือ การให้ทุนสนับสนุนแก่เยาวชน หรือคนรุ่นใหม่ มาเรียนรู้กับครูเพชร ที่เป็นครูต้นแบบ โดยกำหนดเป็นหลักสูตรพื้นฐานอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อฝึกทักษะให้เกิดความชำนาญและต่อยอดงานหัตถกรรมไทยสู่สากล เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทย ซี่งทุนดังกล่าวเป็นการให้เปล่า โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ” นายพรพล กล่าว
ด้านครูเพชร กล่าวว่า เป็นสมาชิกกลุ่มสล่าล้านนา 9 ประเภท อาทิ แกะสลัก ช่างปั้น เครื่องเงิน เครื่องเขิน แต่หาผู้สืบทอดงานหัตถกรรมศิลป์ได้ยาก เนื่องจากคนรุ่นใหม่ไม่สนใจเรียนรู้ และไม่มีความอดทน จึงสนับสนุนแนวคิดนายพรพล ให้ทุนเยาวขนที่มีใจรัก ขยัน อดทน มาเรียนรู้งานศิลป์ดังกล่าว เพื่อเป็นทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ซึ่งมีทีมงานที่มีประสบการณ์ดูแลกว่า 10 คน แต่ประสบปัญหาโควิด 2-3 ปีที่ผ่านา ไม่ได้ส่งออกดังกล่าว ทำให้มีผลิตภัณฑ์ที่ค้างจำหน่ายและส่งออกพอสมควร
“ผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมศิลป์ ที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นของตกแต่งบ้าน เครื่องเรือน โคมไฟ ตู้ และเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งเคยทำช้างสูง 5 เมตร ประดับหน้าตึกของนายบุญชัย เบญจรงคกุล ผู้บริหารดีแทค มูลค่าหลายล้านบาทมาแล้วซึ่งผลิตภัณฑ์บ้านจ๊างนัก มีราคาตั้งแต่หลักร้อยบาขึ้นไป หากมีทายาทที่สืบทอ เชื่อว่าสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมศิลป์ให้สูงขึ้นอีก สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ไม่ต้องไปทำงานนอกพื้นที่” ครู
เพชร กล่าว
/////////////
Discussion about this post