
วันที่ 12 ม.ค.66 ดร.กมล รอดคล้าย ที่ปรึกษารัฐ มนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิ การ เป็นประธานเปิดงาน โครง การปั้นฝันด้วยพหุปัญญา พัฒนาทักษะอาชีพสู่ฐานอนาคตที่มั่นคง โดยมีนายยงยุทธ พรหมแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ ผศ. ดร.เกรียงไกร ปัญญาประเสริฐกุล ผู้ก่อตั้ง/ผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการวิทยาลัยเทคโนโลยีชุมแพไทย-เยอรมัน(จี-เทค) ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเขียว (พี-เทค) ประธานอาชีวศึกษาเอกชนจังหวัดขอนแก่น อุปนายกฝ่ายวิจัยและพัฒนาสมาคมวิทยา ลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชนูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ กล่าวต้อนรับ มีนายวิชัย ศรีขวัญ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้อำ นวยการสถานศึกษา ตัวแทนภาครัฐภาคเอกชน ร่วมเป็นเกียรติในงาน มีนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 1500 คน ณ ลานอเนกประสงค์ วิทยาลัยเทคโนโล ยีชุมแพไทย-เยอรมัน(จี-เทค)
นายยงยุทธ พรหมแก้ว ผอ.สพป. ขก.เขต 5 กล่าวว่า โครงการปั้นฝันด้วยพหุปัญญา พัฒนาทักษะอาชีพสู่ฐานอนาคตที่มั่นคง เป็นโครงการที่ตอบรับนโยบายกระ ทรวงศึกษาธิการ การขับเคลื่อนความร่วมมือการพัฒนาเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 ด้วยหลัก 4H ได้แก่ 1. Head เก่ง : คิด วิเคราะห์ สติปัญญาดี มีความรู้ความสามารถ 2. Heart ดี : มีคุณธรรมจริยธรรม จิตใจดี มีจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและส่วนรวม 3. Hand มีทักษะ : ทักษะเรียนรู้ ทักษะปฏิบัติ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต 4. Health แข็งแรง : รอบรู้ ปลอดภัย สุขภาพกายจิตดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ร่วมกับ วิทยาลัยเทคโนโลยีชุมแพไทย-เยอรมัน(จี-เทค) ได้จัดกิจกรรมตอบสนอง H ที่ 3 คือ มีทักษะ : ทักษะเรียนรู้ ทักษะปฏิ บัติ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต เป็นจุดเริ่มต้นส่วนหนึ่ง ที่จะผู้เรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ได้นำความรู้จากวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถมาแนะนำนวัตกรรมทางทักษะพื้นฐานด้านอาชีพที่น่าสนใจในปัจจุบัน ซึ่งจะได้เป็นความรู้ที่สามารถใช้ต่อยอดความคิดของผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ เพื่อเป็นแนว ทางในการพัฒนาต่อยอดด้านทักษะอาชีพที่มีคุณภาพและมีฐานอนาคตที่มั่นคงต่อไปในอนาคต
นายยงยุทธ กล่าวต่อว่า โครงการปั้นฝันด้วยพหุปัญญา พัฒนาทักษะอาชีพสู่ฐานอนาคตที่มั่นคง ครั้งนี้ได้จัดขึ้นจำนวน 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 รับสมัครโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนขยายโอกาสทางการศึกษาเข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีโรงเรียนร่วมโครงการ จำนวน 67 โรงเรียน ระยะที่ 2 ทำบันทึกข้อตกลงระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 และวิทยาลัยเทคโนโลยีชุมแพไทย-เยอรมัน (จี-เทค) ระยะที่ 3 กิจกรรมเรียนรู้ฐานอาชีพ พี่ฝึกน้อง ให้กับนัก เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ร่วมโครงการ จำนวน 942 คน ระยะเวลา 1 วัน และระยะที่ 4 กิจกรรมนิเทศ ติดตาม โครงการผ่าน Application และรายงานผู้ศึกษาต่อด้านอาชีพ
ด้าน ผศ.ดร.เกรียงไกร ปัญญาประเสริฐกุล ผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีชุมแ ไทย-เยอรมัน (จี-เทค) เปิดเผยว่า นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามความสามารถและความถนัดของตนเอง ตลอดจนส่งเสริมให้มีทักษะเรียนรู้ ทักษะปฏิบัติ ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต วิทยาลัยฯ จีเทค ของเรามีความพร้อมด้านสถานศึกษา ในการสร้างแหล่งเรียนรู้ ที่ตอบโจทย์การผลิตนักศึกษาสายอาชีพ ที่มีคุณภาพสู่ตลาดแรงงาน และพร้อมขับเคลื่อนสนองนโยบายของกระ ทรวงศึกษาธิการไปกับหน่วยงานภาครัฐ ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นการสร้างการแลกเปลี่ยนฐานอาชีพระหว่างองค์กรเอกชนและหน่วยงานภาครัฐ มีการจัดบูธแสดงผลงานนิทรรศการ ฐานเรียนรู้ 34 ฐานและการเข้าฐานเรียนอาชีพ โดยมีครูพี่เลี้ยงประจำแต่ละอาชีพ คอยให้ความรู้ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้ สัมผัส ฝึกปฏิบัติทักษะอาชีพอย่างแท้จริง ก่อนตัดสินใจเลือกเรียนรู้ตามความสามารถและความถนัดของตนเอง
ขณะที่ ดร.กมล รอดคล้าย ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระ ทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า กระ ทรวงศึกษาธิการได้เห็นความสำคัญกับการจัดการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มุ่งฝึกทักษะพื้นฐานให้กับผู้เรียน ให้มีทักษะเรียนรู้ ทักษะปฏิบัติ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต อีกทั้งยังเป็น การผลักดันให้วงการศึกษา ส่งเสริมผู้เรียนที่มีความสามารถด้านอาชีพเข้าสู่ตลาดอาชีวะ วิทยาลัยเทคโนโลยีชุมแ ไทย-เยอรมัน (จี-เทค) ถือเป็นต้นแบบการบริหารจัดการ การศึกษาและสถานศึกษา ที่ประสบความสำเร็จ ที่จะผลิตพัฒนากำลังคนให้สอด คล้องกับตลาดแรงงาน กิจกรรมในวันนี้ ถือเป็นความร่วมมือที่เข้มเเข็งเป็นหัวใจหรือองค์ประกอบหลัก เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในการจัด การศึกษา โดยเฉพาะภาคอาชีว ศึกษาเพื่ออาชีพ ที่จะเป็นกลไกพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต.
Discussion about this post