
วันที่ 12 มกราคม 2566 ที่อาคารตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานนำ พลตำรวจตรี ธวัชชัย ถุงเป้า ผู้บังคับการตำรวจภูธรนครพนม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม และข้าราช การในสังกัด จำนวน 462 นาย ประกอบพิธีรับมอบหมวกและผ้าพันคอจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. เบื้องหน้าพระบรมฉายา ลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว เพื่อเป็นเครื่องหมายและสัญลักษณ์ เป็นขวัญ กำลังใจในการสืบสานพระราชปณิธานโครง การจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ ที่พระองค์ท่านทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระ หม่อม ให้หน่วยราชการในพระ องค์ 904 ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อเป็น การเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิ คุณของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงประ กอบพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ทั้งเพื่อให้ประชาชนมีความสมัครสมานสามัคคี มีความสุข และประ เทศชาติมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน โดยมีหน่วยราชการในพระองค์ 904 เป็นผู้กำกับดูแลการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐ และเอกชน พร้อมทั้งให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการใหญ่โครง การจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ เพื่อทำหน้าที่ควบคุม อำนวยการและประสานการปฏิบัติ ให้การจัดกิจกรรมจิตอาสาพระราช ทานตามแนวพระราชดำริ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ถูกต้องตามพระราโชบาย และสมพระเกียรติ
โดยจิตอาสาหมายถึง จิตแห่งการให้ความดีงามทั้งปวงแก่เพื่อนมนุษย์โดยเต็มใจ สมัครใจ อิ่มใจ ซาบซึ้งใจ ปีติสุข ที่พร้อมจะเสียสละเวลา แรงกาย แรงสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์ในการทำกิจกรรมหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน และมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นจิตที่ไม่นิ่งดูดายเมื่อพบเห็นปัญหาหรือความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับผู้คน เป็นจิตที่มีความสุขเมื่อได้ทำความดีและเห็นน้ำตาเปลี่ยน แปลงเป็นรอยยิ้ม เป็นจิตที่เปี่ยมด้วยบุญ คือความสงบเยือกเย็น และพลังแห่งความดี อีกทั้งยังช่วยลดอัตตาหรือความเป็นตัวตนของตนเองลงได้ ซึ่งจิตอาสาตามพระราโชบาย จะแบ่งออกเป็น 3 ประ เภท ได้แก่ จิตอาสาพัฒนา ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของแต่ละชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมบำเพ็ญ สาธารณ ประโยชน์ การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการดำรงชีวิตประจำวันการประกอบอาชีพ รวมทั้งการ สาธารณสุข ฯลฯ ตามมาด้วยจิตอาสาภัยพิบัติ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้า ตรวจ เตือน และเตรียมการรองรับภัยพิบัติทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่โดยรวมและการเข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยพิบัติ ดังกล่าว เช่น อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย เป็นต้น และจิตอาสาเฉพาะกิจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ปฏิบัติในงานพระราชพิธี หรือการรับเสด็จ ในโอกาสต่างๆ เป็น การใช้กำลังพลจิตอาสาร่วมปฏิบัติกับ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาร่วมงานรวมทั้งการเตรียมการ การเตรียมสถานที่และการฟื้นฟูสถานที่ภายหลัง การปฏิบัติในพระราชพิธี และการเสด็จฯ นั้นๆ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย.
Discussion about this post