
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 ที่แปลงนาของนายประดิษฐ์ นางเพลินพิศ จิตอารีย์ เกษตรกรชาวนา บ้านท่าควาย หมู่ที่ 3 ตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน เกษตรกรชาวนาเกือบ 100 คน ร่วมลงแขกเก็บเกี่ยวผลผลิต ข้าวโพดหวาน หลังได้ทำการเพาะปลูก จนครบกำหนดเก็บเกี่ยวผลผลิต หลังเกษตรกร ได้รวมกลุ่มกันหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย หลังจากที่หน่วยงานภาครัฐ ขอความร่วมมือ งดทำนาปรัง จึงได้ปลูกข้าวโพดหวาน ซึ่งเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย และเป็นพืชที่ มีความต้องการของตลาด โดยเกษตรกรในพื้นที่ได้รวมกลุ่มกันปลูก ซึ่งเป็นพืชที่ใช้น้ำในการเพาะปลูกไม่มาก โดยใช้เวลาในการปลูกไม่ถึง 60 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว
ข้าวโพดหวานเป็นพืชอีกชนิดหนึ่ง ที่เกษตรได้รวมกลุ่มกันปลูก โดยมีบริษัทมารับซื้อถึงที่สวน และเป็นพืชที่นิยมกันปลูก เพราะเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย และเป็นที่ต้องการของตลาด ประชาชน นิยมบริโภค เมื่อได้ผลผลิตแล้วก็ไม่ต้องนำไปขายที่ตลาด มีบรรดาพ่อค้า แม่ค้า มารับซื้อถึงที่ ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง สามาถนำออกมาขายเองที่สวน วิธีการปลูกก็ไม่ยุ่งยากให้เลือกดินร่วน หรือ ดินร่วนปนทราย ที่ระบายน้ำได้ดีในการปลูก การเตรียมดินโดยการไถดะ และตากดินประมาณ 3-5 วัน แล้วจึงไถแปรให้ดินละเอียดอีกครั้ง ก่อนไถแปรควรหว่านปุ๋ยคอก เช่น ปุ๋ยขี้ไก่ เพื่อให้ดินร่วนชุย และเพิ่มธาตุอาหารให้กับข้าวโพด การปลูกให้ขุดหลุมปลูก โดยให้ระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 25 เซนติเมตร หรือที่ระยะ 50+50 เซนติเมตร โดยหยอดเมล็ดพันธุ์หลุมละ 1-2 เมล็ด พร้อมกลบดิน ใน 1 ไร่สามารถปลูกได้ 7,000 ต้น ราคาขายตกกิโลกรัมละ 7-8 บาท ลงทุนไร่ละ 5,000 บาท สามารถจำหน่ายได้ไร่ละ 15,000 -18,000 บาท จึงทำให้ครอบครัวไม่เดือดร้อน

ทางด้าน นางละเอียด วรรณภพ หนึ่งในในผู้ปลูก ข้าวโพด กล่าวว่า นอกจากนี้ เกษตรกร ในพื้นที่ยังได้ทำการปลูกพืชน้ำน้อยอื่นๆ อีกอาเช่น ไร่ยาสูบ พริก มะเขือและกะหล่ำปรี ถั่วผักยาว และถั่วลิสง โดยจะใช้ที่ดินในพื้นที่ ทำการปลูกพืชหมุนเวียน ให้ให้เกิดประโยชน์ สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในช่วงหน้าแล้งนี้ ตามที่รัฐบาลขอความร่วมมือ ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด สร้างรายได้ให้ครอบครัว โดยไม่เดือดร้อน หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดหวานแล้วเสร็จก็จะทำการไถกลบปรับปรุงดินและทำการปลูกถั่วลิสงค์ต่อ หมุนเวียนไปจนถึงฤดูการทำนาครั้งต่อไป
Discussion about this post