
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 ณ.ศาลาวัดบ้านอิม ตำบลต้าผามอก อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ทางสถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าจังหวัดแพร่ จัดเวทีถอดบทเรียนเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม “กรณีเหมืองแร่แบไรต์ จ.แพร่” (เหมืองศศิน) เหลียวหลังแลหน้าเพือพัฒนาชุมชนใกล้เหมืองอย่างสร้างสรรค์ โดยมี นางสาวจารวรรณ แก้วมะโน นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า นายชูศักดิ์ ปัญญามูล นักบริหารโครงการชำนาญการสถาบันพระปกเกล้า นายอำนวย พลหล้า ประธานศูนย์พัฒนาการเมือง ภาคพลเมืองสถาบันพระปกเกล้าจังหวัดแพร่ พร้อมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าจังหวัดแพร่
โดยมีพี่น้องชาวบ้าน ม. 5 บ้านอิม ม.7 และ ม.8 บ้านศรีใจ ต.ต้าผามอก อ.ลอง จ.แพร่ นำโดยนายจิรวัฒน์ (โด่ง) ดวงประทีป นางสาวสมใจ ต๊ะเอ้ย เข้าร่วมเวที
สำหรับผลการถอดบทเรียนเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม กรณีเหมืองแร่แบไรต์ จ.แพร่ (เหมืองศศิน) เหลียวหลังแลหน้าเพื่อพัฒนาชุมชนใกล้เหมืองอย่างสร้างสรรค์ สืบเนื่องจากตัวแทนชาวบ้าน หมู่ 5 หมู่ 7 และ หมู่ 8 ตำบลต้าผามอก อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ได้รับหนังสือแจ้งความคืบหน้าการติดตามการดำเนินการตามเรื่องร้องเรียนและข้อเสนอเพื่อการบรรเทาผลกระทบจากการทำเแร่แบไรต์ ของบริษัทศศิน จำกัด จากผู้ตรวจการแผ่นดิน หนังสือเลขที่ ผผ1 203/96 ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2566 ซึ่งระบุการขับเคลื่อนเพื่อบรรเทาผลกระทบดังกล่าว โดยจังหวัดแพร่หลายประการ ประกอบด้วย
1.จังหวัดแพร่ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินกิจการเหมืองแร่แบไรต์ของบริษัทเหมืองศศิน จำกัด 2. คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาและพื้นฟูพื้นที่ที่ใด้รับผล กระทบจากการดำเนินกิจการเหมืองแร่แบไรต์ของบริษัทเหมืองศศิน จำกัด ได้ประชุมและมีมติขับเคลื่อนเรื่องต่อไปนี้
2.1 ในระยะเร่งด่วนให้คำเนินการขุดลอกลำห้วยแม่สวก โดยมอบให้องค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอก ขอใช้พื้นที่เพื่อขุดลอกลำห้วยต่อกรมป่าไม้และจัดทำโครงการขุดลอกลำห้วย โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ให้การสนับสนุนบุคลากรในการประมาณราคารายละเอียดต่างๆและสนับสนุนเครื่องจักรกลรวมทั้งงบประมาณตามอำนาจหน้าที่ และภารกิจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ รวมถึงให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ประสานผู้ประกอบการเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนค่าเชื้อเพลิง และให้สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ เร่งรัดเรื่องการขออนุญาตใช้พื้นที่ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอกได้ขออนุญาตไป 2.2 ให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ และ สำนักทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ ร่วมกับผู้ประกอบการเข้าฟื้นฟูที่ดังกล่าวโดยด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้ดินไสลค์ลงในลำห้วยแม่สวกอีก 2.3 ให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดแพร่ จัดทำแผนและกำหนดแนวทางการฟื้นฟู โดยอาจตั้งคณะกรรมการขึ้นมา
ช่วยกันให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
ดังนั้นในฐานะภาคประชาชนหมู่ที่ 5 หมู่ 7 และ หมู่ที่ 8 ซึ่งเคลื่อนไหวเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างยั่งยืนเสมอมา และเพื่อให้การแก้ไขปัญหาฟื้นฟูผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีข้อเสนอเพื่อประกอบการพิจารณาการดำเนินการแก้ไขปัญหาของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาและพื้นฟูพื้นที่ที่ ได้รับผลกระทบจากการดำเนินกิจการเหมืองแร่แบไรด์ของบริษัทเหมืองศศินจำกัด ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแเพร่แต่งตั้งขึ้น ดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมดังต่อไปนี้
- ขุดลอกลำห้วยแม่สวก เพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งให้ภาคประชาชนสามารถทำการเกษตรได้ดังเดิม โดยก่อนขุดเจาะขอให้มีการจัดเวทีรับฟังความเห็นของชาวบ้าน ม. 5 ม.7 และ ม.8 ต.ต้าผามอก อ.ลอง จ.แพร่ เพื่อหาทางออกร่วมกันเสียก่อนเพื่อให้การขุดลอกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเพิ่มเติม 2. ทำกำแพงกั้นคันดินเพื่อป้องกันเศษหินดินทรายและขี้แร่/แบไรต์พังทลายทับถมลงสู่ลำห้วยแม่สวกช้ำ โดยดำเนินการไปพร้อมกับการขุคลอกลำห้วยแม่สวก และให้มีการรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน ม.5 , ม.7 และ ม.8 ต.ต้าผามอก อ.ลอง จ.แพร่ เพื่อหาทางออกร่วมกันเสียก่อนเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเพิ่มเติม 3. ขอให้อุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ ป่าไม้จังหวัดแพร่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพัฒนาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ศศินจำกัดขึ้นเป็นป่าชุมชน เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นว่าไม่ควรมีการเปิดเหมืองขึ้นอีกในพื้นที่ป่าชุมชน
นายจิรวัฒน์ (โด่ง) ดวงประทีป ได้กล่าวว่า ชาวบ้านที่ได้รับผล กระทบจากเหมืองฯ มีความเดือดร้อนในการทำมาหากินและการขาดแคลนแหล่งน้ำ เพื่อใช้ในการเกษตร จึงอยากให้จังหวัดและหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องชาวบ้านโดยด่วนด้วย
นางสาวสมใจ ต๊ะเอ้ย ได้กล่าวทำนองด้วยกันว่า ความเดือดร้อนพี่น้องชาวบ้านซึ่งได้รับผลกระทบจากเหมืองเป็นเวลานานแล้ว หลังจากนี้ฝากความกับทางจังหวัด และหน่วยงาน เข้ามาแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเรื่องแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรก่อน
และมีการยืนหนังสือ ให้ นายกิตติชัช บุตรศรี นายอำเภอลอง ตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ป่าไม้จังหวัดแพร่ ,ทสจ.แพร่ ,นางพิกุล เอี่ยมพงษ์ นายกอบต.ต้าผามอก ,ประธานสอ.ชต.จ.แพร่, ประธานสอชต.ต้าผามอก , อุตสาหกรรม จ.แพร่, อบจ.แพร่ ,ผญบ.ม.5 ม,8 กำนันตำบลต้าผามอก
ธีรพงษ์ ธงออน/แพร่
Discussion about this post