
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 นายประวิทย์ ใจคำ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย กล่าวว่า อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย มีพื้นที่รับผิดชอบ 256,250 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด คือจังหวัดแพร่ และจังหวัดลำปาง สถิติไฟป่าย้อนหลัง 5 ปี มีจุด Hotspot ในพื้นที่จำนวน 1,319 จุด ปีนี้ ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจุด Hotspot จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ต้องไม่เกิน 208 จุด อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย แบ่งพื้นที่ในการบริหารจัดการออกเป็น 6 ก้อน หรือ 6 เขตใหญ่ พื้นที่รับผิดชอบของแต่ละหน่วยก็ประมาณ 40,000.-65,000. ไร่ มีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติสำหรับดูแลประจำพื้นที่ จำนวน 6 หน่วย แต่ละหน่วย มีกำลังประมาณ 5-7 คน และมีสายตรวจส่วนกลางสำหรับคอยสนับสนุนหน่วยหรือภารกิจอื่นๆ อีก 1 สาย กำลังพล 7 นาย
สำหรับสถานการณ์ไฟป่าในปี 2566 นี้ คาดว่าค่อนข้างจะหนัก เนื่องจากใบไม้สะสมเมื่อปีที่แล้ว (ปีที่แล้วฝนดี) อีกทั้งอากาศตอนนี้ก็ร้อนและแห้งแล้ว การวางแผน ช่วงนี้ต้องปรับใหม่ทั้งหมด โดยกำลังเจ้าหน้าที่ต้องทยอยพักได้เวรละ1 คน ที่เหลือต้องเข้าปฏิงานหมด หลังจากได้รับทราบจุด Hotspot ประจำวันจาก war room ไฟป่า หรือ มีการตรวจพบ หรือรับแจ้งเหตุไฟป่าในพื้นที่ นอกจากกำลังทั้ง 7 ชุด ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีการจัดชุดกำลังเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง (เจ้าหน้าที่ผู้ชายที่อยู่ส่วนกลางทั้งหมด ทุกตำแหน่ง) เพื่อเข้าสนับสนุนการดับไฟป่าในกรณีที่หน่วยหลักเอาไม่อยู่ หรือมีจุด Hotspot เกินกว่าชุดกำลังหลักที่มีอยู่อีกจำนวน 3 ชุด ชุดละ 5 นาย รวม 15 นาย
หน.อช.เวียงโศัย กล่าวอีกว่า มองเผินๆ อาจจะดูเหมือนมีกำลังเยอะ แต่ถ้ามองลงรายละเอียดไป จะพบว่า เจ้าหน้าที่ 1 หน่วย จำนวน 5-7 นาย มีพื้นที่รับผิดชอบหลายหมื่นไร่ อย่างต่ำๆก็ 4 หมื่นไร่ขึ้นไป การบริหารจัดการกำลังคนในช่วงวิกฤตินี้จึงสำคัญมาก การทำงานดับไฟที่หนักหน่วงและแทบทุกวันย่อมเหนื่อยล้าเป็นธรรมดา แต่เราก็ไม่เคยท้อ
อีกข้อจำกัดหนึ่งที่เกี่ยวกับไฟป่า คือ เราไม่มีหน่วยงานที่ควบคุมไฟป่า หรือ สถานีควบคุมไฟป่าในพื้นที่คอยสนับสนุน ดังนั้น จึงต้องพึ่งตัวเองเป็นหลัก แต่ก็มีความร่วมมือจากชาวบ้านเข้ามาช่วยเป็นรายกรณีไป (จากการไปสร้างเครือข่ายของเข้าหน้าที่อุทยานเอง) ท้ายนี้ หวังว่าสิ่งที่ทำไป คงจะมีประโยชน์ต่อโลกนี้ไม่มากก็น้อย และขออขอบพระคุณทุกกำลังใจที่มีให้กันเสมอมาครับ
ธีรพงษ์ ธงออน/แพร่
Discussion about this post