
สุรินทร์-จากกรณี ผู้ประกอบการร้านถูกดี 27 แห่ง..ร้องถูกจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่เป็นธรรม ยื่นหนังข้อโต้แย้งไปยังอธิบดีกรมพรรพากรและสรรพา กรพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเรียกร้องขอคำชี้แจงจากผู้เชี่ยวชาญและเพื่อหาข้อยุตติและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หลังต้องแบกรับภาระจ่ายทั้งของบริษัทคู่สัญญาและของตัวเองด้วย โดยเนื้อหาในหนังสือระบุ ว่า เนื่องจากข้าพเจ้า ศรายุทธ พิภักดิ์ อยู่ที่ 2/1-2 ถ.พรหมเทพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ประกอบกิจการร้าน “ถูกดีมีมาตรฐาน” ซึ่งเป็นกิจการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค ในลักษณะการร่วมค้ากับ “บริษัททีดีตะวันแดงจำกัด” ซึ่งขอเรียกว่า “คู่สัญญา” โดยข้าพเจ้าเป็นผู้แจ้งเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภ.พ.30) เอง จากการแนะนำของคู่สัญญา ตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปเบื้องต้นนั้น การประกอบกิจการของข้าพ เจ้าจึงเป็นการดำเนินการของบุคคลสองคน ในลักษณะหุ้นส่วน แต่มิได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งให้เป็นบุคคลเพียงคนเดียวอย่างที่ควรจะเป็นเพื่อประโยชน์ในการชำระภาษีเงินได้ จึงทำให้เกิดประ เด็นปัญหาที่เป็นข้อสงสัยของข้าพ เจ้าและประชาชนทั่วไป ดังนี้
ข้อ 1. เหตุใดจึงจัดให้ข้าพเจ้าอยู่ในประเภทของผู้เสียภาษีในมาตรา 40 (8) ตามประมวลรัษฎากร ข้อ 2. ในสัญญาระบุว่า คู่สัญญาเป็นเจ้าของสินค้า จึงทำให้ข้าพเจ้าไม่ได้รับเงินรายได้จากตัวสินค้าโดยตรง ข้าพเจ้ารับเพียงแต่เงินส่วนแบ่งรายได้ที่คู่สัญญาเป็นผู้กำหนดเองทั้งหมด ทั้งราคาสิน ค้า ต้นทุน และกำไร ดังนั้นการแจ้งรายได้ตามฐานของภาษีมูล ค่าเพิ่ม(ภ.พ.30) ถูกต้องแล้วหรือไม่ เพราะเหตุใด ข้อ 3. ในประ มวลรัษฎากร กฎหมายที่บังคับให้คำนวณการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ร้อยละ 0.5 ของยอดขาย โดยไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายจริงไปหักได้ ไม่เป็นธรรมกับข้าพเจ้า และประชาชนที่ประกอบกิจการดังกล่าว เนื่องจากได้รวมเอาเงินส่วนแบ่งของคู่สัญญาไปคำนวนภาษีด้วย ทั้งที่เป็นภาษีเฉพาะตัวบุคคล ตามคำนิยามคำว่า “เงินได้พึงประเมิน” ของประมวลรัษฎา กร ข้าพเจ้าจึงไม่ได้มีรายได้จากตัวสินค้าโดยตรง ทำให้วิธีการจัดเก็บภาษีเงินได้ทั้ง ภงด.90 และภงด.94 ไม่เป็นธรรม กับข้าพเจ้าและประชาชนที่ประกอบกิจการดังกล่าวกับบริษัททีดีตะวันแดงจำกัด ซึ่งหมายความว่า แม้จะประกอบกิจการขาดทุนแล้ว ก็ยังต้องเสียภาษีอยู่ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามหลักของภาษีเงินได้แต่อย่างใด ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ มีผู้ร่วมลงชื่อกับข้าพเจ้าจำนวน 27 ราย
ดังนั้น ข้าพเจ้าและประชาชนที่ประกอบกิจการร้าน “ถูกดีมีมาตร ฐาน” ทั่วประเทศจำนวนอีกกว่า 8,000 แห่ง ทั่วประเทศจึงได้รับความเดือดร้อน จากการแนะนำที่ผิดพลาดของคู่สัญญาเอง รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ให้คำแนะนำดังกล่าวที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นสาเหตุให้ต้องขอคำชี้แจงจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาข้อยุตติและแก้ไขปัญหาต่อไป ตามที่นำเสนอข่าวไปแล้วนั้น
ล่าสุดวันนี้ 19 มิ.ย. 66 นายศรา ยุทธ พิภักดิ์ ผู้ประกอบกิจการร้าน “ถูกดีมีมาตรฐาน”และเป็นตัวแทนประกอบกิจการร้าน “ถูกดีมีมาตร ฐาน”ในพื้นที่ จ.สุรินทร์ และต่างจังหวัดทั่วประเทศ ได้เข้ายื่นหนัง สือคำขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.08 ต่อสรรพากรพื้นที่สาขา เมืองสุรินทร์ โดยเปิดเผยว่า ในข้อ 30 ในสัญญาร้านค้า จะอยู่ในเรื่องของสินค้าและการจำ หน่ายสินค้า ซึ่งข้อ 30 จะระบุว่ากรรมสิทธิ์ในสินค้า ผู้ดำเนินก็คือตนรับมอบไว้จากทีดี ยังเป็นของทีดีจนกว่าสินค้าจะถูกขายจำหน่ายจ่ายโอนใช้งาน บริโภคหรือหมดอายุ ตรงนี้มันหมายความว่าสินค้าเมื่อขายให้ลูกค้าแล้วมันก็จะเป็นของลูกค้า ซึ่งมันไม่มีวินาทีไหนเลยที่จะเป็นของผู้ดำเนินการ ก็คืออยู่ในร้านก็ยังเป็นของทีดี พอขายไปก็จะเป็นของลูกค้าทันที ตนไม่ มีกรรมสิทธิ์ในสินค้าแม้แต่วินาทีเดียว นี่คือในข้อ 30 และในส่วนของข้อ 31 ค้าตอบแทนที่เราได้จากลูกค้า ตัวข้อที่ว่ากรรมสิทธิถูกโอนไปแล้ว ค่าตอบแทนที่ลูก ค้าจ่ายมา เขาบอกว่าเมื่อจำหน่ายสินค้าไปแล้วให้ถือว่าเงินค่าตอบ แทนหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าตกเป็นกรรมสิทธิของทีดีทันที คือเมื่อตนรับเงินจากลูกค้ามาแล้วเงินก็จะกลายเป็นของบริษัททันที เรื่องภาษีตรงนี้ตนเอาข้อ 30,31 เข้าไปโต้แย้งในสรรพากร ตนได้เข้าไปคุยที่สรรพากรจังหวัดก่อน อธิบายให้เขาฟังว่ากรรมสิทธิ์เป็นการขายแทนนะ กรรมสิทธิ์ในตัวสินค้าไม่มีในตัวของผู้ดำเนินการหรือตัวผู้ประกอบการเอง แล้วก็เมื่อได้รับเงินจากลูกค้าเงินนั้นก็จะถูกโอนไปหาทีดีในวันถัดไป เพราะว่าเงินนั้นจะเป็นของทีดีเมื่อเราขายไปแล้ว กรรมสิทธิ์ในตัวสินค้าไม่มี ตนเป็นผู้ขายแทนเท่านั้น ย้ำเลยคำว่าทีดีขายให้ผู้ดำเนินการไม่มีครับ แต่เป็นคำกล่าวอ้าง ตามข้อเท็จจริงไม่มีไม่เคยมี ถามผู้ดำเนินการทุกๆร้านได้ ตัวนี้เป็นข้อเท็จจริง ตนกล่าวในการอ้างข้อเท็จจริงเท่านั้น

การดำเนินการตนได้ไปข้อยกเลิก โดยที่จังหวัดได้โทรไปให้สรรพา กรอำเภอแต่ละอำเภอ คือเราต้องเอาประเด็นนี้ให้มันชัดก่อน ที่ว่าจะไปคุยกับจังหวัด เพราะว่าจังหวัดจะไม่ยอมรับเรื่องเลย ซึ่งตนก็ใช้ข้อนี้ว่าถ้าไม่รับรับเรื่องให้ทำเอกสารว่าไม่รับเพราะเหตุใด ซึ่งมันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญของประชาชนอยู่แล้ว ที่สามารถอุทธรณ์หรือโต้แย้ง มีข้อสงสัย ซึ่งเขาก็ต้องรับเรื่องเพื่อที่พิจารณา ตอนนี้เขาก็รับเรื่องแล้ว โดยตนได้ไปที่อำเภอเขาก็ให้ทำเอกสาร ภ.พ. 08 แต่ยังไม่ได้ดำเนินการยกเลิกการดำเนินการร้านค้า ก็สามารถที่จะขายต่อได้ แต่แค่ไปยกเลิกภาษีมูลค้าเพิ่มหรือ vat หรือการแจ้ง ภ.พ.30 ซึ่งขั้นตอนนี้จะอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการ เพื่อนำไปพิจารณา ถ้าพิจารณาเสร็จแล้วมันก็จะมีคำสั่งออกมาอีกทีหนึ่ง ถ้าถึงตรงนั้นเดี๋ยวเราก็จะดำเนินการต่อไป และตนมีอีกตัวหนึ่งที่จะขอพ่วงไปด้วยคือการขอคืนภาษี นั้นก็คือ ค.10 ซึ่งร้านค้าสามารถขอคืนได้ถ้าหากว่า ภ.พ. 08 มีความไม่ชอบไม่ถูกต้องจริง เราก็ทำเรื่องไปก่อนเลย เพราะว่ามันจะไปพ่วงกัน ค.10 ก็คือทำ 12 เดือน ถ้าตนทำ 2 ปีก็ต้องทำ 24 ใบ ทำเป็นรายเดือน ตอนนี้ในกลุ่มตนก็แนะนำในกลุ่มว่า มีวิธีการยังไงเผยแพร่วิธีการไปสู่ขบวนการ ขั้นตอนตามกฎหมายให้เขาทราบ แล้วเขาก็อาจจะไปดำเนินการตาม ตนแนะนำให้ยกเลิกและขอคืนไปด้วยเลย ทั้งหมดก็น่าจะหลักพัน ซึ่งตรงนี้จะเป็นกระแสอยู่ที่ว่าจะไปที่สรรพากรอำเภอ ถ้าสรรพากรอำเภอเขาปฏิเสธเดี๋ยวเขาก็คงจะโทรมาหาตน แล้วตนก็จะให้คำแนะนำกับเขาไป ซึ่งเหตุผลที่ตนให้ไว้ตาม ภ.พ.08 “เนื่องจากเข้า ใจว่าเป็นกิจการที่ขายสินค้าที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่ข้อเท็จจริงเป็นเพียงการดำเนินการขายสินค้าแทนบริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด ตามสัญญาดำเนินการร้านค้า ข้อ 30,31 ในสัญญาข้างต้น และไม่มีการขายสินค้าระหว่างผู้ดำเนินการและทีดี” ซึ่งทุกอย่างเป็นข้อเท็จจริงสามารถพิสูจน์ได้ ตนก็แค่นำข้อเท็จจริงเข้ามาออกสู่สังคมให้ได้รับรู้เท่านั้น ซึ่งทางสรรพากรเขาก็เข้าใจ แต่ตนก็ไม่มั่นใจว่าถ้าตนทำคนเดียวมันจะเกิดอะไรไหม ถ้ามีผู้ดำเนินการร้านทำตามหรือมีกระแสทำเยอะๆ หรือไปออกเป็นข่าวดังมันก็จะมีผลออกมา คือตนก็ไม่สามารถให้คำตอบได้ แต่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลง เพราะว่าข้อเท็จจริงกับคำกล่าวอ้างมันต่างกัน ส่วนจังหวัดอื่นส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้ประกอบการที่เขาไม่รู้ ซึ่งตนก็แนะนำให้เขารู้ คือเขารู้อยู่แล้วว่ามันผิด ข้อเท็จจริงมันไม่ใช่ตามคำกล่าวอ้าง คือมันจะมีเอกสารฉบับหนึ่งที่ออกมาจากเครื่องโพสต์จากบริษัท(ส่งเข้าเครื่องถึงผู้ประกอบการถูกดีทุกร้าน) ซึ่งมีการกล่าวอ้างว่า คือตรงนี้ตนไม่ขอลงรายละเอียดก็แล้วกัน แต่มันกล่าวอ้างมันดันไปขัดกับข้อเท็จจริง ซึ่งทำให้เกิดกระแสบ้างอย่างที่พาร์ทเนอร์เดือดร้อนขึ้นมาประมาณนั้น ถ้าอ่านตามคำประกาศคำชี้แจ้งจากบริษัทแม่ เขาบอกว่ามีการซื้อขายกันระหว่างพาร์ทเนอร์กับถูกดี เมื่อทีดีส่งมาก็ถือว่าเป็นการซื้อขาย แต่ว่าใบซื้อขายจะออกถัดไปอีกวันหนึ่ง ซึ่งในข้อเท็จจริงหลักการซื้อขายคืออะไร คือบุคคลสองคนใช่ไหม ตกลงซื้อขายกัน ต้องมีความยินยอมทั้งสองคน แต่อีกฝ่ายหนึ่งมันไม่รู้เรื่อง คือผู้ประกอบการมันไม่รู้เรื่อง แล้วมันเกิดการซื้อขายกันได้อย่างไร แล้วในสัญญาก็ไม่มีข้อไหนเลยตั้งแต่ข้อ 24 ถึงข้อ 34 ในเรื่องสินค้าและการขายให้ลูกค้า ไม่มีข้อไหนเลยที่มีการซื้อขายระหว่างพาร์ทเนอร์กับทีดี ตะวันแดง สัญญากับข้อเท็จจริงเป็นแนวทางเดียวกันแต่ว่าคำประกาศขัดกับสัญญา
ตนก็กราบอยากให้มีโอกาสในการชี้แจ้ง มีโอกาสในการนำเสนอทางฝ่ายผู้ประกอบการที่เดือดร้อน ว่าตอนนี้ทั้ง 8,000 แห่ง เดือดร้อนในเรื่องภาษีอย่างแน่นอน ไปถามได้ไม่มีใครไม่เดือดร้อน และจะมีประมาณสัก 20 เปอร์เซ็นต์ ที่อยู่ไม่ได้เลย เป็นหนี้มีการดำเนินการที่ถูกคู่สัญญามีการฟ้อง มีการดำเนินคดีฟ้องกัน มีความเดือดร้อนที่ต้องกู้หนี้ยืมสิน ก็คือในเมื่อร้านขาดทุนแต่ยังต้องจ่ายภาษีอีก ซึ่งตรงนี้มันอาจจะมีขั้นตอนที่มีกระบวนการคิดมาแล้ว โดยใช้หน่วยงานของรัฐบีบคู่สัญญา อันนี้ตนแค่สงสัยนะ แต่ว่าตนก็ไม่สามารถไปก้าวล่วงได้ ตรงนี้ผู้เดือดร้อนจริงๆมีอยู่เยอะมาก คนที่ยอดเยอะก็ไม่เดือดร้อนเท่าไหร่ แต่ว่าเขาก็เอ๊ะเหมือนกัน มันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แล้วส่วนที่ยอดน้อยมันอยู่ไม่ได้แน่นอนยังไงก็ต้องยกเลิก เพราะว่ามันจะเข้าเนื้อตัวเอง เหมือนเป็นการเฉือนเนื้อออกไปเรื่อยๆต้องไปกู้มาจ่ายทำร้าน เอาง่ายๆต่อเดือนมียอดสามแสนถือว่าขาดทุน มีคนต่ำกว่าสามแสนอยู่ประมาณเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ของคนทำร้าน คิดง่ายๆสามแสนต่อเดือนยอดกลับมาอยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นๆหักค่าหัก 15 เปอร์เซ็นร์ก็เหลืออยู่สองหมื่นหก หักค่าลูกน้องหนึ่งคนหมื่นหนึ่ง ค่าไฟค่าน้ำตีไปแปดพันบาท ก็เหลืออยู่แปดพันบาท ถ้าคนมีค่าเช่าอีกก็จบ แปดพันเอาไปไหน ไหนจะค่าภาษีอีกประมาณสามพัน ก็เหลืออยู่ห้าพันบาท เจอค่าถุงค่าโน่นนั้นนี่อีก สุดท้ายตนว่าหายหมด ไม่รู้จะเอาอะไรกิน นายศรายุทธ กล่าว.
Discussion about this post