มูลนิธิป่อเต๊กตึ้งมอบวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการประกอบอาชีพครัวเรือนยากจนเชิงบูรณาการร่วมกับกรมพัฒนาชุมชน ด้านพัฒนาการจังหวัดกาฬสินธุ์ จัดโชว์อาชีพใหม่แก้จนได้จริง เลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้าในครัวเรือนลงทุนน้อย สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่มาแรงเลี้ยง 2 เดือน โกยรายได้ครึ่งแสน
ที่วัดป่าพุทธมงคล ต.หลับ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ มูลนิธิป่อเต๊กตึ้งร่วมกับกรมพัฒนาชุมชนมอบวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการประกอบอาชีพครัวเรือนยากจนภายใต้บันทึกข้อตกลงร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ ระหว่างกรมการพัฒนาชุม กระทรวงมหาดไทย กับมูลนิธิป่อเต๊กตึ้ง โดยมีนายสำเริง ม่วงสังข์ รอง.ผวจ.กาฬสินธุ์เป็นประธานในพิธีมอบ โดยมี นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประธานกรรมการฯมูลนิธิป่อเต๊กตึ้ง นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร กรรมการและรองเลขาธิ การมูลนิธิป่อเต๊กตึ้ง นายชาญกิจ วิทยาวรากรณ์ กรรมการ นางศิริพร กระจ่างหล้า ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ และมี นางเฉลิมขวัญ หล่อตระกูล นายกอบจ. กาฬสินธุ์ นายอุทัย สิงห์ทอง พัฒนาการจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยพัฒนาการอำเภอทั้ง 18 อำเภอ และประชาชนครัวเรือนยากจนที่ได้รับการคัดเลือกให้รับมอบอุปกรณ์ประกอบสัมมาชีพจำนวน 44 ครัวเรือนมูลค่ากว่า 900,000 บาท
สำหรับกิจกรรมในงานพัฒนาชุม
18 อำเภอจัดแสดงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโคกหนองนา ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในชุมชน ผ้าแพรวาราชินีแห่งไหมกาฬสินธุ์ ผ้าเช็ดเท้าด้วยวัสดุเศษผ้าที่เหลือใช้ ซึ่งมูลนิธิป่อเต๊กตึ๊งได้จัดช่างตัด ผมมาตัดให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมหน่วยแพทย์สงเคราะห์มาให้บริการฟรี เพื่อพี่น้องชาวจังหวัดกาฬสินธุ์มีสุขภาพที่ดีและมีรายได้เกิดขึ้นในครัวเรือน ซึ่งงานนี้นายชาญชัย จำเริญศรี อายุ 49 ปี ผู้ใหญ่บ้าน ม.12 ต.เหนือ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ ได้นำเสนอโชว์การเลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้าเพื่อสาทิตให้กับประชาชนหน่วยงานราชการที่มาร่วมกิจกรรมด้วยนำเสนอกล่องใส่ไข่ตั๊กแตนปาทังก้าซึ่งสร้างรายได้เดือนละ 4 หมื่นบาท หลังเริ่มเลี้ยงตั๊กปาทังก้าประมาณ 2 เดือนเศษ
นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล รองประ
ธานกรรมการมูลนิธิป่อเต๊กตึ้ง กล่าวว่า มูลนิธิป่อเต๊กตึงเล็งเห็นความสำคัญในการช่วยเหลือประ ชาชนทุกรูปแบบ ทุกเหตุการณ์ที่ผ่านมาทางเราเล็งเห็นความสำคัญของชีวิตมนุษย์ในการประกอบสัมมาชีพสุจริตจึงร่วมกับกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยให้คัดเลือกครัวเรือนที่ยากจนที่ต้องการประกอบอาชีพสุจริตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นด้วยการมอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพที่ครัวเรือนยากจนต้องการมีอุปกรณ์สำหรับช่างทุกชนิด อุปกรณ์เครื่องครัวทุกรูปแบบที่จำเป็น รถเข็น รถพ่วงข้าง อาชีพเสริมสวย เป็นต้น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เป็นองค์กรสาธารณกุศลเอกชนที่ไม่แสวงกำไร ได้ก่อตั้งมาเป็นเวลา 113 ปีแล้ว ด้วยปณิธาน “ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต” ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ บำรุง สุขแก่เพื่อนมนุษย์ ทุกชนชั้น ทุกศาสนาตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บและตาย มีหน่วยงานในสังกัดได้แก่ โรงพยาบาลหัวเฉียว มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คลินิคการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว ซึ่งการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ มูลนิธิฯได้จัดงบประมาณดำเนินการเพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพมอบให้แก่ ครัวเรือนยากจน ให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตน เองและครอบครัว ได้โดยในกลุ่มเป้าหมายแรกในพื้นที่ภาคกลาง 17 จังหวัด จำนวน 98 ครัวเรือน รวมเป็นมูลค่า 1,288,712 บาท (หนึ่งล้านสองแสนแปดหมื่นแปดพันเจ็ดร้อยสิบสองบาทถ้วน) และต่อมา ได้ดำเนินการในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด จำนวน 230 ครัวเรือน รวมเป็นมูลค่า 3,445,710 บาท (สามล้านสี่แสนสี่หมื่นห้าพันเจ็ดร้อยสิบบาทถ้วน) และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงได้พิจารณา ระยะที่ 3 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 20 จังหวัด ซึ่งมูลนิธิฯ ได้ดำเนินการ มอบวัสดุอุปกรณ์อาชีพได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา ชัยภูมิ รวม 76 ครัวเรือน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,462,420 บาท จำนวน 44 ครัวเรือน คิดเป็นมูลค่า 934,930 บาท (เก้าแสนสามหมื่นสี่พันเก้าร้อยสามสิบบาทถ้วน) รวมมอบแล้ว 5 จังหวัด จำนวน 120 ครัวเรือน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,397,350 บาท (สองล้านสามแสนเก้าหมื่นเจ็ดพันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน) การประสานความร่วมมือในโครงการแก้ปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการนี้จะช่วยพัฒนาชุมชนสร้างอาชีพ สร้างชีวิต ให้กับครัวเรือนยากจนให้มีความรู้ มีทักษะ และมีวัสดุอุปกรณ์ไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวทั้งนี้ก็เพื่อช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างความสุขสู่ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป
นายชาญชัย จำเริญศรี อายุ 49 ปี ผู้ใหญ่บ้าน ม. 12 ต.เหนือ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ในฐานะที่ตนชอบทำการเกษตรแบบผสมผสานมานาน ทั้งปลูกพืช เลี้ยงสัตว์จำพวกปลา และการเลี้ยงวัวแต่ในระยะหลังราคาวัวในท้องตลาดมีราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง วัวที่เลี้ยงไว้ไม่สามารถทำกำไรได้มากนัก จึงเล็งเห็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่กำลังมาแรงในพื้นที่ จ.กาฬ สินธุ์ คือการเลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้า จึงได้ศึกษาหาข้อมูลวิธีการเลี้ยงในสื่อโซเชียลต่างๆ จึงนำตั๊กแตนปาทังก้ามาเลี้ยงได้ประมาณ 2 เดือนเศษ ทำรายได้ตกเดือนละ 4 หมื่นบาท ทั้งการจำหน่ายเป็นตัวที่จำไปประกอบอาหารหรือกินเล่นในกิโรกรัมละ 400 บาท และจำหน่ายไข่ในราคากิโรกรัมละ 10,000บาท หรือจะแบ่งขายเป็นขีด ตกขีดละ 1,000 บาท สร้างรายได้อย่างงามดีกว่าการเลี้ยงวัวหรือทำการเกษตรด้านอื่นๆ โดยในวันนี้ได้นำชุดอุปกรณ์การเลี้ยงตั๊กแตนปาทังก้ามานำเสนอโชว์วิธีการเลี้ยง มีกล่องใส่ไข่ตั๊กแตน หญ้า มุ้งไว้สำหรับเลี้ยงตั๊กแตนให้กับประชาชนหรือผู้ที่สนใจในงานป่อเต๊กตึ๊งร่วมกับกรมพัฒนาชุม ชนโดยตนเป็นผู้ใหญ่บ้านได้นำครัวเรือนยากจนมารับอุปกรณ์ในการไปประกอบสัมมาชีพ โดยมีผู้สนใจเข้ามาสอบถามทั้งในส่วนราชการระดับจังหวัดและประชา ชนอยากนำไปทอดลองเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้ และที่สำคัญตั๊กแตนชนิดนี้เลี้ยงง่ายโตเร็วมีแค่ให้หญ้าหวานเป็นอาหารที่สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ของภาคอีสาน.
Discussion about this post