
“ข้าวต้มลูกโยน” หรือ “ข้าวต้มหาง” ที่ทำมาจากข้าวเหนียวผัดกับกะทิและถั่วดำ ห่อด้วยใบเตยหรือใบมะพร้าวให้มีใบเหลือไว้เป็นหางยาว ใส่ลงไปในบาตรของพระสงฆ์มากกว่า 100 รูปที่เดินต่อแถวเรียงรายลงมาจากบันไดสวรรค์ ชาวบ้านมีความเชื่อกันว่า การตักบาตรข้าวต้มลูกโยนนี้จะเป็นการรอรับเสด็จพระพุทธเจ้าในการลงมาจากการจำพรรษาในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยเหล่านางฟ้า นางสวรรค์ และเทวดา ประชาชนมากมายจึงปรารถนาที่จะใส่บาตรพระพุทธองค์ด้วยอาหารต่าง ๆ บางคนที่อยู่ไม่ถึงต้องใช้วิธีโยนอาหารใส่ในบาตร กลายเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนทำสืบต่อกันมามากกว่า 10 ปี
ที่วัดพระพุทธฉาย ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี นายกิตติศักดิ์ ธีระวัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี พระราชธีราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย รองเจ้าคณะภาค ๒ นางวชิราภรณ์ เพ็ชรล้อม วัฒนธรรมจังหวัดสระบุรี นายธนกฤต อัตถสัมปุณนะ รองนายกองค์การบริการส่วนจังหวัดสระบุรี และ นายอรรถการณ์ จิตถวิล นายอำเภอเมืองสระบุรี ร่วมแถลงข่าว
นายกิตติศักดิ์ ธีระวัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า งานนี้กำหนดจัดในวันที่ 29-30 ตุลาคม 2566 ณ วัดพระพุทธฉาย การจัดงานดังกล่าวเพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามให้คงอยู่คู่จังหวัดสระบุรี และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อสืบสานวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ที่สำคัญเป็นการส่งเสริมการทองเที่ยวของจังหวัดตามนโยบายของนายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ที่ผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวในทุกด้านเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ประชาชนมีอาชีพมีรายได้
พระราชธีราภรณ์ กล่าวว่า งานนี้ต้องการปลูกฝังความรัก ความกตัญญูต่อพ่อแม่ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่างที่พระองค์เสด็จจำพรรษาในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ แสดงพระอภิธรรมปิฎก เพื่อตอบแทนคุณของพุทธมารดา ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงพระชนมายุอยู่นั้น ทรงเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และกลับมายังมนุษย์โลกที่เมืองสังกัสคีรี ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ประชาชนต่างมารอเฝ้ารับสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันนั้น ได้กล่าวว่าเป็นวันเปิดโลก ทำให้โลกมนุษย์ สวรรค์และนรกต่างเห็นกันและกันประชาชนที่มาจำนวนมากที่มาเฝ้ารอเสด็จต่าง ปรารถนาใส่บาตรพระพุทธองค์ โดยประชาชนที่อยู่ห่างออกไปไม่สามารถจะใส่บาตรได้ถึง จึงใช้วิธีการโยนอาหารของตนลงในบาตรของพระพุทธเจ้า และพระสาวก โดยอาหารเหล่านั้นตกลงในบาตรเป็นที่อัศจรรย์
นางวชิราภรณ์ เพ็ชรล้อม วัฒนธรรมจังหวัด กล่าวว่า ไฮไลต์ภายในงาน ทุกท่านจะได้ชมขบวนแห่ข้าวต้มลูกโยน และขบวนการแสดงขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมพื้นบ้านที่ยิ่งใหญ่และสวยงาม และชมกรรำวงในบทเพลงรำวงสระบุรีที่ใช้คนมากที่สุด เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา การตักบาตรข้ามต้มลูกโยนซึ่งมีการจำลองการเสด็จลงมาจากสวรรค์ขององค์สัมมาสัมมาพุทธเจ้า เสด็จลงมาจากชั้นดาวดึงส์เพื่อลงมายังโลกมนุษย์ เพื่อโปรดสัตว์ และมนุษย์โลกโดยมีนางฟ้า นางสวรรค์ เทวดาเสด็จร่วมขบวน โดยในระหว่างขบวนแห่มีชาวบ้านรอใส่บาตรด้วยข้าวต้มลูกโยน ข้าวสาร อาหารแห้ง ผลไม้แก่พระภิกษุ สามเณร ข้าวต้มลูกโยนนั้น วิธีการทำอาจคล้ายคลึงกัน แต่การใช้ใบไม้มีหลายชนิดที่นำมาห่อ ส่วนใหญ่จะใช้ใบเตยซึ่งเมื่อนำไปนึ่งก็จะมีกลิ่นหอม และเมื่อสุกแล้วแกะออกจะมีลักษณะคล้ายหยดน้ำ ทำให้น่ารับประทาน และสามารถเก็บได้นานกว่า 3 วัน ในอุณหภูมิปกติ อีกทั้งการทำข้าวต้มลูกโยนยังถ่ายทอดความสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจในการรักษาประเพณีของชุมชน การทำข้าวต้มลูกโยนหรือข้าวต้มหาง จะนิยมทำขึ้นในวันออกพรรษาประเพณีนี้ชาวบ้านปฏิบัติสืบสานมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นประเพณีเก่าแก่ของที่นี่ ซึ่งทุกบ้านจะทำข้าวต้มลูกโยนเพื่อนำไปทำบุญตักบาตรเทโวฯ สำหรับท่านที่จะมาร่วมงานสามารถหาซื้อข้าวต้มลูกโยนได้ภายในวัดโดยทางกลุ่มแม่บ้านและชาวบ้านในพื้นที่จะนำมาจำหน่าย
ด้านนายธนกฤต อัตถสัมปุณนะ รองนายก อบจ.สระบุรี กล่าวว่า งานนี้นายสัญญา บุญหลง นายก อบจ.สระบุรี ได้สนับสนุนงบประมาณในการจัดงาน ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะร่วมกันส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด
นายอรรถการณ์ จิตถวิล นายอำเภอเมืองสระบุรี กล่าวว่า การจัดขบวนแห่ได้เตรียมการแสดงสุดยิ่งใหญ่หลายขบวน ขบวนนางรำกว่าพันชีวิต ขบวนชาติพันธุ์ การแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดสระบุรี ในปีนี้ได้มีการตัดเตรียมไว้อย่างยิ่งใหญ่สุดอลังการ
หิรัญยวัต อธิวัฒน์เดชากร / สระบุรี 0623601234
Discussion about this post