
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์–ฟื้นฟูปะการังและชายหาด (มอป.) พร้อมด้วยความร่วมมือจาก สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (สทร) สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 จังหวัดระยอง โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ( บริษํทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (Gulf MTP ) บริษัทอิตาเลียนไทยดีเว๊ลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน ( ITD ) และ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาการก่อสร้าง ท่าเรือมาบตาพุดระยะ ที่ 3 ( PMSC ) พร้อมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ กลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้าน จัดทำโครงการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ทางทะเลระยอง เพิ่มความสมบูรณ์ของแนวปะการังน้ำตื้น บริเวณเกาะสะเก็ด โดยการนำ วัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อน ปะการัง หรือ บ้านปะการัง จากเทคโนโลยี CPAC 3D Printing Solution ของทาง SCG โดย CPAC Green Solution มาขึ้นรูปเป็นวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปะการังและสัตว์น้ำ และทำ การเปิดตัวโครงการฟื้นฟูปะการังด้วยฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง 3D Concrete Printing บริเวณเกาะสะเก็ด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
ในการฟื้นฟูปะการัง โดยทำการเปิดโครงการฟื้นฟูปะการัง ด้วยฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง 3D Concrete Printing ในครั้งนี้ (เริ่ม กันยายน 2566 ) โดยแผนการดำเนินโครงการมี ระยะเวลา 3 ปี (2566-2568) ซึ่งภายหลังจากการวางบ้านปะการังในแต่ละปีแล้ว จะมีการติดตามผล รวมทั้ง ทำการศึกษา วิจัย ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินผลการ ดำเนินการเป็นระยะ และเพื่อให้ เกาะสะเก็ด เป็นแหล่งเรียนรู้ของการอยู่ร่วมกันของการพัฒนา และการดูแล รักษทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืนสืบไป.
Discussion about this post